วัดสุทธจินดา เดิมนั้น เป็นที่ตั้งของวัดถึงสองวัด คือวัดบรมจินดาซึ่งอยู่ทิศใต้ และวัดสมบูรณ์จิ๋วซึ่งอยู่ทางทิศเหนือ วัดทั้งสองวัดมีคลอดกั้นกลางเพื่อแบ่งอาณาเขต โดยวัดทั้งสองวัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมานาน สร้างขึ้นโดยใครและสร้างในสมัยใดนั้นยังไม่ทราบอย่างแน่ชัด ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2458 ทางส่วนราชการได้มีการย้ายศาลากลางจังหวัดหรือศาลากลางว่าการมณฑลนครราชสีมาในสมัยนั้น จากที่เคยตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัดพระนารายณ์มหาราช มาตั้งที่มุมกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยสร้างเป็นอาคาร 2 ชั้น และได้รื้อกำแพงเมืองด้านด้านตะวันออกเฉียงใต้ออก เพื่อให้มองเห็นศาลาว่าการและสนามภายในศาลาอย่างเด่นชัด แต่เมื่อมีการรื้อกำแพงเมืองฝั่งทิศตะวันออกเฉียงใต้ออกแล้ว ก็ทำให้เห็นวัดทั้งสองวัดชัดยิ่งขึ้น และวัดทั้งสองวัดนั้นอยู่ในสภาพที่เก่าแก่และทรุดโทรมมาก ซึ่งมองไปแล้วไม่รับกันกับศาลาว่าที่เพิ่งสร้างขึ้นมาใหม่ ทางราชการจึงมีความคิดที่จะพัฒนาวัดขึ้นใหม่ให้มีสภาพที่ดีกว่าเดิม ดั่งนั้นบรรดาข้าราชการ ทหาร พลเรือน คหบดี และพ่อค้า มีพระยาเพ็ชรปาณี (ดั่น รักดประจิต) สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครราชสีมา จึงร่วมปรึกษาและเห็นต้องกันว่า เมืองนครราชสีมาเป็นเมืองใหญ่ เป็นเมืองเอกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือควรมีวัดที่สง่างามอยู่ใกล้ศาลาว่าการมณฑล จึงได้มีการรวมเอาวัดสมบูรณ์จิ๋วกับวัดบรมจินดาให้เป็นวัดเดียวกัน และสร้างขึ้นใหม่เพื่อให้เป็นที่สถิตของพระมหาเถระผู้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะมณฑลในขณะนั้นต่อไป เมื่อการปรึกษาหารือเป็นที่ลงตัวแล้วการก่อสร้างวัดใหม่จึงเกิดขึ้น มีใบบอกลงมายังกรุงเทพมหานคร กราบทูลพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ขอประทานพระอนุญาตรวมวัดสร้างใหม่ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าประทานอนุญาต และได้ประทานนามวัดว่า วัดสุทธจินดา และโปรดฯ ให้ยกวัดนี้เป็นพระอารามหลวง เมื่อพ.ศ. 2478 นอกจากวัดแห่งนี้จะเป็นวัดที่เชิดหน้าชูตาให้กับจังหวัดแล้ว หากมาถึงวัดแห่งนี้ก็ไม่ควรพลาดที่จะเข้ามากราบไหว้สักการะ สมเด็จพระเจ้าองค์ดำสุทธจินดา พระพุทธรูปสำริดศิลปะเชียงแสน (ลาว) ปางมารวิชัย ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำวัดที่มีความสำคัญ และมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมากมาก —————————————————————————— ขอบคุณที่มาจาก : นิตยสารมอร์มูฟ ฉบับ 103 https://th.wikipedia.org/wiki/วัดสุทธจินดาวรวิหาร
บุญใหญ่ ครอบครัวสุวรรณชาติ บริจาคที่ดินให้ รพ.มหาราช ที่ดินเนื้อที่ 237.4 ตารางวา พื้นที่ติดกับตลาดสุรนารี
ปีนี้เตรียมตัวโยก neon space Yappah Fest #4 เทศกาลดนตรีใหญ่กลางเมืองโคราช วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ที่ Mayfair Market