“กรมทางหลวง” มีโปรเจ็กต์สร้างทางสะพานยกระดับหน้าตลาดเซฟวันแก้ปัญหาจราจร แต่ทาง “เฮียไช้”รัตนชัย สราธิวัฒน์ประไพ เจ้าของตลาดเซฟวันและชุมชนเสนอเป็น “ทางลอด UNDERPASS” สร้างเป็นอุโมงค์แบบเปิดทำให้เป็น KORAT GATEWAY แก้ปัญหาจราจรหน้าเซฟวัน เพื่อเป็นประตูสู่เศรษฐกิจและเป็นแลนด์มาร์คสะท้อนอัตลักษณ์พื้นที่ในอนาคต ด้วยการเอาลายผ้าไหมโคราชสร้างลวดลายและสร้างที่หมายตาในการสะท้อนความเป็นเมืองหลัก

12970627_838355412936957_2126808810_o

แต่เรื่องยังเงียบถ้าทำได้จราจรหน้าเซฟวันจะดีขึ้นแน่นอน และโลเกชั่นหน้าเซฟวันจะสวยมาก ย้อนหลังที่หอประชุมโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายชยาวุธ จันทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาสมัยนั้น พร้อมด้วยนายอดุลย์ เชาว์วาทิน ผู้อำนวยการสำนักทางหลวงที่ 8 นครราชสีมา และ นายอำนวย ฤทธิรงค์ ผู้อำนวยการแขวงการทางนครราชสีมาที่ 2 สำนักทางหลวงที่ 8 นครราชสีมา ร่วมจัดกระประชุมการมีส่วนร่วมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการก่อสร้าง “ทางแยกต่างระดับ รูปแบบสะพานกลับรถแบบเกือกม้า” บริเวณหน้าตลาดนัดเซฟวัน ช่วงหลัก กม.141 +300 ถึง กม.142 +500 ทางหลวงหมายเลข 2 ถ.มิตรภาพ ตอนโคกกรวด -นครราชสีมา เป็นระยะทาง 1.6 กิโลเมตร โดยมีผู้นำชุมชน และ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งเป็นพี่น้อง ประชาชน ที่มีบ้านพักอาศัย และ สถานประกอบการบริเวณรอบๆโครงการฯ ร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศ เสนอลักษณะรูปแบบโครงการฯ รวมทั้งมาตรการป้องกัน แก้ไข เยียวยาความเดือดร้อน และเปิดโอกาสให้แสดงข้อคิดเห็นความต้องการ

12980960_1103377983017998_300050201_o

โดยส่วนใหญ่ต้องการทางแยกต่างระดับรูปแบบสะพานข้ามทางแยก ผู้เกี่ยวข้องจึงต้องเตรียมปรับแผนขอขยายงบเพิ่มเติมต่อไป นายอำนวย ฤทธิรงค์ ผู้อำนวยการแขวงการทางนครราชสีมาที่ 2 เปิดเผยว่า “บริเวณพื้นที่ดำเนินโครงการ ฯ เป็นเส้นทางเข้าสู่เมืองหน้าด่าน 20 จังหวัดอีสาน ลักษณะกายภาพเป็นทางชั้นพิเศษ 8 ช่องจราจร โดยรอบเป็นย่านชุมชนขนาดใหญ่ และอยู่ใกล้ทางแยกต่างระดับนครราชสีมา ที่ 1 มียานพาหนะแล่นผ่านมากกว่า 60,000 คันต่อวัน จึงมีสภาพการจราจรคับคั่งในชั่วโมงเร่งด่วน และ ช่วงเทศกาลสำคัญ จึงจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพ ให้เส้นทางสามารถรองรับปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้นในอนาคต และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

รูปแบบโครงการ ฯ ซึ่งเป็นรูปแบบสะพานเกือกม้า ใช้งบประมาณ 96,100,000 บาท หากมีการเห็นชอบสามารถดำเนินการได้ทันที คาดแล้วเสร็จไม่เกิน 480 วัน แต่มีเสียงคัดค้านต้องการสะพานข้ามทางแยก ซึ่งประเมินเบื้องต้นร่วม 200 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ทุกข้อเสนอแนะ จะไปปรับปรุงพัฒนาออกแบบโครงการให้มีความเหมาะสม สอดคล้องต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายต่อไป”

12922283_1103377946351335_878917083_o

ด้าน”เฮียไช้”รัตนชัย สราธิวัฒน์ประไพ เปิดเผยว่า “เรื่องนี้มีการพูดคุยกันมาประมาณปีกว่า เนื่องจากกรมทางหลวงฯมีโปรเจ็กต์ที่จะทำ 4 รูปแบบ ทางเลือกที่1.ออกแบบเป็นสะพาน 2 ตัว, ทางเลือกที่ 2.ออกแบบเป็นสะพานยกระดับ(OVERPASS), ทางเลือกที่ 3.ออกแบบเป็นทางลอด (UNDERPASS) และทางเลือกที่4.ออกแบบเป็นสะพาน 2 ตัว สถานที่ตั้ง ทางหลวงหมายเลข 2 กม.140 ถึง กม. ที่142 ศักยภาพของพื้นที่เป็นตำแหน่งที่เป็นเมือง(HUB) และเป็นประตูสู่ภูมิภาคมีการรองรับ การผ่านของการสัญจรไปสู่จังหวัดอื่นๆ ทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และตำแหน่งของที่ตั้งกม.ที่141 เป็นจุดแรกที่สังเกตเห็นได้ง่ายก่อนจะเข้าสู่ถนนสายอื่นทั้งจังหวัดนครราชสีมา และ เป็นจุดที่แยกมุ่งไปจังหวัดทั่วทั้งภาคอีสาน” “ดังนั้นตนและชาวชุมชนมิตรภาพซอย 15 ได้ร่วมกันนำเสนอทำโปรเจ็กต์นี้ให้เป็น KORAT GATEWAY “ทางลอดมิตรภาพอุโมงค์แบบเปิด UNDERPASS” ตำแหน่ง ศูนย์กลางซอยมิตรภาพ 15 เพื่อตอบสนองและรองรับการจราจรที่เพิ่มมากขึ้น และสร้างความสะดวกให้ชุมชนผู้ใช้รถใช้ถนน

12935345_1103377896351340_1795553781_n

อีกทั้งยังนำเสนอการเป็นประตูสู่โคราช สู่ภาคอีสาน และประตูสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งในแง่สัญลักษณ์ของเมืองหน้าด่านในอดีต และเป็นประตูสู่เศรษฐกิจความมั่งคั่งในอนาคต” นายรัตนชัย กล่าวอีกว่า “นอกจากนี้ KORAT GATEWAY ยังจะเป็นแลนด์มาร์คใหม่ที่จะสะท้อนอัตลักษณ์พื้นที่ในอนาคต ด้วยการดีไซน์โดยเอาลายผ้าไหมโคราชสร้างลวดลายและสร้างที่หมายตาในการสะท้อนความเป็นเมืองหลัก ที่เป็นดั่งประตูเมืองหน้าด่านในเชิงความหมายความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในอดีตของโคราช ทั้งปัจจุบันและนำไปสู่อนาคต และจะเป็นแลนด์มาร์คใหม่เสมือนเป็นประตูสู่โคราชและภาคอีสานอีกด้วย”

12959563_1103377939684669_1497344669_o

“ในด้านการแก้ปัญหาทัศนียภาพของเมืองโคราชตรงนี้ จะช่วยยกระดับยุทธศาสตร์เชิงเศรษฐกิจ และยังสามารถเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับชุมชนโดยรอบโดยมีพื้นที่สีเขียวและผู้ผ่านไปมาทั่วทั้งภาคอีสานจากทั่วประเทศและทั้งอาเซียน ซึ่งยังเป็นการสร้างทิศทางในเชิงพัฒนาเมืองโคราชโดยยังคงสะท้อนอัตลักษณ์เอาไว้อีกด้วย โดยเอาความสำคัญของอดีตมาสร้างสรรค์ความเป็นปัจจุบันที่ทันสมัยในเชิงบวกและส่งผ่านให้คนรุ่นหลังในอนาคตได้ ซึ่งโครงการที่เรานำเสนอคาดว่าจะใช้เงินลงทุนปัจจุบันประมาณกว่า 600 ล้านบาท ซึ่งสิ่งที่ตนและชาวชุมชนมิตรภาพซอย 15 เสนอกับกรมทางหลวงไปแต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับใดๆ” นายรัตนชัย กล่าว


Comments are closed.

Check Also

เปิดทางเชื่อม มอเตอร์เวย์ M6 – ถนนสุรนารี 2

เปิดทางเชื่อม มอเตอร์เวย์ M6 – ถนนสุรนารี 2 ตั้งแ … …