การค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ในหน้าประวัติศาสตร์! ที่สร้างความฮือฮาไปทั่วโลก เมื่อประมาณ ตี 1 วันที่ 23 ก.พ. 2560 ตามเวลาประเทศไทย NASA ได้แถลงข่าวการค้นพบครั้งสำคัญของโลก คือได้ค้นพบระบบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่อาจมีสิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยอยู่ได้มากที่สุดเท่าที่เราเคยสำรวจและค้นพบมา

โดย NASA ได้เรียกระบบนี้ว่า TRAPPIST-1 แต่การค้นพบครั้งนี้แตกต่างจากที่เคยค้นพบมา เนื่องจาก “TRAPPIST-1” เป็นระบบที่มีดาวฤกษ์เพียงดวงเดียว (คล้ายระบบสุริยะที่มีดวงอาทิตย์เพียงดวงเดียว) ซึ่งทำให้ระบบไม่ซับซ้อนจึงเอื้อต่อการเกิดสิ่งมีชีวิตมากกว่าระบบที่มีดาวฤกษ์หลายดวง โดยมีดาวฤกษ์หลักของระบบ TRAPPIST-1 เป็นดาวแคระแดง ซึ่งมีมวลและขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์มาก และปล่อยแสงในย่านแสงสีแดง จึงเรียกดาวแคระแดง เมื่อนำภาพเปรียบเทียบขนาดดาว TRAPPIST-1 และดวงอาทิตย์ จะเห็นว่ามีขนาดใหญ่กว่าดาวพฤหัสบดีไม่มากนัก

ด้วยความที่ดาวฤกษ์หลักเป็นดาวแคระแดง ซึ่งมีมวลและขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์มาก จึงทำให้วงโคจรของดาวเคราะห์ทั้ง 7 ขยับเข้ามาใกล้กว่าระบบสุริยะของเรา โดยดาวเคราะห์ TRAPPIST-1h ซึ่งอยู่ไกลที่สุด ยังมีวงโคจรใกล้ดาวฤกษ์มากกว่าวงโคจรของพุธเสียอีก นี่คือภาพเปรียบเทียบขนาดของวงโคจรเมื่อเทียบกับระบบสุริยะ จะเห็นว่าวงโคจรใหญ่กว่าวงโคจรของดวงจันทร์ของดาวพฤหัสไม่มากนัก และเล็กกว่าวงโคจรของดาวพุธเป็นอย่างมาก

ภาพมุมมองจากนอกระบบ TRAPPIST-1 จะเห็นว่าดาวฤกษ์มีแสงออกไปทางแดงมากกว่าดวงอาทิตย์

ภายในระบบ TRAPPIST-1 ประกอบด้วยดาวเคราะห์ 7 ดวง และทั้ง 7 ดวงเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลก ถือเป็นครั้งแรกที่ค้นพบระบบดาวเคราะนอกระบบสุริยะที่เป็นดาวเคราะห์ขนาดใกล้เคียงกับดาวโลกทั้งหมด

ภาพเปรียบเทียบดาวเคราะห์ทั้ง 7 ในระบบ TRAPPIST-1 กับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

ซึ่งในบรรดาดาวเคราะห์ทั้ง 7 ดวงในระบบ TRAPPIST-1 พบว่ามีจำนวนถึง 3 ดวงที่อยู่ในระยะที่เอื้อต่อการกำเนิดสิ่งมีชีวิต คือ อยู่ในระยะที่ น้ำสามารถอยู่ในสถานะของเหลวได้ เช่น ไม่ใกล้ดาวแม่มากจนน้ำถูกความร้อนเผาจนกลายเป็นไอไปซะหมดเหมือนดาวพุธ หรืออยู่ไกลจนความร้อนจากดาวแม่ แผ่ไปไม่ถึงจนกลายเป็นน้ำแข็งไปเสียทั้งหมดเหมือนดาวพลูโต และนี่คือภาพแสดงขอบเขตที่เหมาะแก่การให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตเมื่อเทียบกับระบบสุริยะ และขอบเขตที่น้ำจะสามารถอยู่ในสถานะของเหลวได้ของระบบ TRAPPIST-1

นอกจากนี้ระบบ TRAPPIST-1 ยังนี้อยู่ห่างจากโลกประมาณ 40 ปีแสง ซึ่งถือว่าอยู่ไม่ไกลมากจนเกินไปนัก ทำให้สามารถสำรวจจากกล้องโทรทัศน์บนโลกได้ง่าย และในอนาคตอันไกลโพ้นหากเทคโนโลยีพร้อม เราอาจสามารถเดินทางไปถึงได้ในที่สุดเหมือนในภาพยนตร์ Sci-fi หลายๆ เรื่องที่เราเคยดูในวัยเด็ก

ภาพจำลองแบบ VR 360 องศา สามารถลากเมาส์เพื่อหมุนภาพเพื่อดูในมุมมองอื่นๆ ได้

 

แหล่งข้อมูล : เหนื่อยนักก็พักก่อน (Pantip)
ภาพประกอบ : ESO/M. Kornmesser (ภาพปก)


Comments are closed.

Check Also

แกรนด์โอเพ็นนิ่ง “โคเอ็น” แบรนด์ดังร้านบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่นปิ้งย่าง-ชาบู-ซูชิ ผงาดเจาะตลาดอีสาน ประเดิมโคราชแห่งแรก!

ดีเดย์ แกรนด์โอเพ็นนิ่งสุดยิ่งใหญ่ KOUEN PREMIUM BUFFET … …