กลุ่มคนไทยที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครราชสีมาเรียกอีกอย่างว่า “ไทยโคราช” เป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา โดยคนกลุ่มนี้ใช้ภาษาเหมือนคนไทยในส่วนกลาง แต่เสียงวรรณยุกต์เพี้ยนไปบ้าง และมีคำศัพท์สำนวนที่มีลักษณะเป็นของตนเอง [soliloquy id=”775″] ในอดีตถิ่นนี้ชาวพื้นเมืองเป็นละว้า ต่อมาชาวไทยได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยพระเจ้าอู่ทองให้ขุนหลวงพะงั่วยกกองทัพมารวบรวมดินแดนแถบนี้เข้ากับกรุงศรีอยุธยาและโปรดฯให้กองทหารอยุธยาตั้งด่านอยู่ประจำ และส่งช่างชาวอยุธยามาก่อสร้างบ้านเรือนและวัดวาอารามเป็นอันมาก ต่อมาชาวไทยอยุธยาก็ได้พาครอบครัวอพยพเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ได้มีการอพยพมาอยู่นครราชสีมาครั้งใหญ่อีกระลอกหนึ่ง ซึ่งคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 มีชาวไทยชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกได้อพยพเข้ามาด้วย ชาวไทยกลุ่มนี้และชาวไทยพื้นเมืองเดิม (ประกอบด้วย ไท-เสียม และอาจมีเขมรกับมอญปนอยู่ด้วย) สืบเชื้อสายเป็นชาวไทยโคราชและรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีสืบทอดกันมา กลุ่มไทยโคราชเป็นกลุ่มที่แสดงเอกลักษณ์ของเมืองนครราชสีมา เพราะสำเนียงแตกต่างจากกลุ่มอื่น เป็นกลุ่มที่พูดภาษาไทยโคราชซึ่งคล้ายคลึงภาษาไทยกลางแต่สำเนียงเพี้ยน เหน่อ ห้วนสั้น เกิ่นเสียง มีคำไทยลาว (อีสาน) ปะปนบ้างเล็กน้อย ชาวไทยโคราชแต่งกายแบบไทยภาคกลาง รับประทานข้าวเจ้า อาหารทั่วไปคล้ายคลึงภาคกลาง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมคล้ายไทยภาคกลาง ปัจจุบันกลุ่มไทยโคราชอาศัยอยู่ในทุกอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา ยกเว้นบางอำเภอที่มีชาวไทยลาวมากกว่า (อำเภอบัวใหญ่ ปักธงชัย และสูงเนิน) และยังพบชาวไทยโคราชในบางส่วนของจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรี จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอบำเหน็จณรงค์และจัตุรัส) และจังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอเมืองบุรีรัมย์ นางรอง และหนองกี่) ปัจจุบันจังหวัดนครราชสีมามีประชากรมากเป็นอันดับหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมากเป็นอันดับสองของประเทศรองจากกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยประชากรหลากหลายเชื้อชาติหรือหลายชาติพันธุ์ แต่กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครราชสีมาที่มีจำนวนมากมีอยู่สองกลุ่มใหญ่คือ ไทย (หรือเรียกอีกอย่างว่า ไทยโคราช) และอีกกลุ่มคือ ลาว (หรือไทยอีสาน) และมีชนกลุ่มน้อยอีกได้แก่ มอญ กุย (หรือส่วย) ชาวบน จีน ไทยวน ญวน และแขก แหล่งข้อมูล: คุณสัมพันธ์ รัตนจันทร์
บุญใหญ่ ครอบครัวสุวรรณชาติ บริจาคที่ดินให้ รพ.มหาราช ที่ดินเนื้อที่ 237.4 ตารางวา พื้นที่ติดกับตลาดสุรนารี
ปีนี้เตรียมตัวโยก neon space Yappah Fest #4 เทศกาลดนตรีใหญ่กลางเมืองโคราช วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ที่ Mayfair Market