ในวันที่ 12 เม.ย.59 อธิบดีกรมป้องกันสาธารณภัย (ปภ.) เผยว่า ช่วงวันที่ 12-17 เม.ย.หย่อมความต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลมจากทิศใต้ได้หอบนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้าปกคลุมบริเวณภาคเหนือ และภาคกลาง ทำให้มีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางพื้นที่

 

 

จึงได้ประสาน 45 จังหวัด ที่มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อนให้เตรียมพร้อมรับมือ โดยให้จัดเจ้าหน้าที่และมิสเตอร์เตือนภัยติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมตรวจสอบสิ่งก่อสร้างและป้ายโฆษณาให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง ตัดแต่งกิ่งไม้บริเวณริมถนนและพื้นที่ชุมชน เพื่อป้องกันการไม่ให้เกิดการหักโค่นอันจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน โดยพื้นที่เสี่ยงแบ่งออกเป็น

 

ภาคเหนือ 11 จังหวัด ได้แก่ ตาก, อุตรดิตถ์, เพชรบูรณ์, แม่ฮ่องสอน, เชียงราย, พะเยา, น่าน, แพร่, เชียงใหม่, ลำพูน และลำปาง

Screen Shot 2016-04-14 at 12.53.16 AM

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา, ชัยภูมิ, บุรีรัมย์, สุรินทร์, ขอนแก่น, กาฬสินธุ์ มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, สกลนคร, นครพนม, มุกดาหาร, ยโสธร, อำนาจเจริญ, อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, เลย, หนองคาย, หนองบัวลำภู, อุดรธานี และบึงกาฬ

Screen Shot 2016-04-14 at 12.53.49 AM

 

ภาคกลาง 6 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, สระบุรี, ลพบุรี, สิงห์บุรี และอ่างทอง

Screen Shot 2016-04-14 at 12.53.31 AM

 

ภาคตะวันออก 8 จังหวัด ได้แก่ ปราจีน, ฉะเชิงเทรา, สระแก้ว, นครนายก, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด

Screen Shot 2016-04-14 at 12.54.03 AM
นอกจากนี้ ยังมีการเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย 45 จังหวัด ให้ติดตามผลพยากรณ์อากาศ และประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมปฏิบัติตามคำเตือนอย่างเคร่งครัด รวมถึงตรวจสอบบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง งดเว้นการใช้โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสารทุกชนิดบริเวณที่โล่งแจ้ง เพราะอาจเกิดฟ้าผ่า ทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ส่วนเกษตรกรให้จัดทำที่ค้ำยันต้นไม้หรือที่กำบังเพื่อป้องกันพืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียงหาย อีกทั้งห้ามหลบพายุบริเวณได้ต้นไม้ ป้ายโฆษณา หรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรง เพราะอาจได้รับอันตรายจากการถูกล้มทับ อย่างไรก็ตาม ฝนที่ตกลงมาในระยะนี้ ก่อให้เกิดผลดีต่อพื้นที่ภาคเหนือ ทำให้สถานการณ์หมอกควันคลี่คลายลง รวมถึงช่วยคลายความร้อนและเพิ่มความชุ่มชื้นในอากาศ และขอให้ประชาชนจัดเตรียมภาชนะกักเก็บน้ำฝนไว้สำหรับอุปโภคบริโภคด้วย

 

แหล่งข้อมูล : ทีนิวส์ภัยพิบัติ


Comments are closed.

Check Also

แกรนด์โอเพ็นนิ่ง “โคเอ็น” แบรนด์ดังร้านบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่นปิ้งย่าง-ชาบู-ซูชิ ผงาดเจาะตลาดอีสาน ประเดิมโคราชแห่งแรก!

ดีเดย์ แกรนด์โอเพ็นนิ่งสุดยิ่งใหญ่ KOUEN PREMIUM BUFFET … …