วันที่ 6 ตุลาคม 2559 พิธีมหามงคลครั้งยิ่งใหญ่ พิธีพุทธาภิเษก “พระชัยเมืองนครราชสีมา”รุ่น“ แพ้ไม่เป็น” เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะท้าวสุรนารี ครบรอบ 190 ปี “เจ้าคุณธงชัย วัดไตรมิตร” เป็นประธานจุดเทียนชัย เตรียมอัญเชิญ “พระชัยเมืองนครราชสีมา” จากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร เป็นพระพุทธรูปสำคัญ 1 ใน 9 องค์ที่ใช้สำหรับประกอบพิธีต่างๆของบ้านเมือง มาให้ชาวโคราชได้สักการะ ณ บริเวณลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา โดยคณะกรรมการกีฬาจังหวัดนครราชสีมา ได้จัดสร้าง “พระชัยเมืองนครราชสีมา” รุ่น“แพ้ไม่เป็น” เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะท้าวสุรนารี ครบรอบ 190 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้สมทบทุนสนับสนุนกิจกรรมกีฬา ในการพัฒนาและส่งเสริมกีฬา ของจังหวัดและเพื่อสาธาณประโยชน์อื่นๆ โดยการจัดสร้าง “พระชัยเมืองนครราชสีมา” รุ่นนี้ ได้มีการนำชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ จากพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง อาทิ แผ่นจารอักขระ อาจารย์ฝั้น, แผ่นจารอักขระ หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ, ตะกรุด หลวงพ่อเดิม,หลวงพ่อจง,หลวงปู่สี, หลวงปู่ดุลย์ และ มีแผ่นจารทองเงินนาค จากพระเกจิยอดนิยม อาทิ หลวงพ่อใหญ่ วัดสุทธจินดา, หลวงปู่จื่อ, หลวงปู่บุญ, หลวงพ่อเกิด, ครูบากฤษณะ และครูบาแบ่ง นอกจากนี้ ยังได้รับเมตตา จากท่าน “เจ้าคุณธงชัย วัดไตรมิตร” มอบชนวนมวลสารและออกแบบผ้ายันต์“แพ้ไม่เป็น” ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกอีกด้วย ซึ่งชนวนมวลสารทั้งหมดนี้จะนำมาหลอมรวม เพื่อนำไปจัดสร้าง “พระชัยเมืองนครราชสีมา” รุ่น “แพ้ไม่เป็น” ทั้งรูปหล่อหน้าตัก 9 นิ้ว และเหรียญต่างๆ ซึ่งถือเป็นสุดยอดวัตถุมงคลอย่างยิ่ง โดยมีพิธีเททองนำฤกษ์“พระชัยเมืองนครราชสีมา”รุ่น“แพ้ไม่เป็น” เมื่อวันพฤหัสที่ 18 สิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา ณ บริเวณลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี โดยมี นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานจุดเทียนชัย พร้อมด้วย นายประเสริฐ บุญชัยสุข อดีตรมว.อุตสาหกรรม, นายสุรวุฒิ เชิดชัย นายกเทศมนตรีนคร นครราชสีมา และ ผู้ว่าฯวิเชียร จันทร์โณทัย ฯลฯ โดยพิธีสงฆ์จากพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์เจริญพระพุทธมนต์ 9 รูป นำโดย พระธรรมโสภณ (หลวงพ่อใหญ่) วัดสุทธจินดา ฯลฯ และพระเกจิอาจารย์นั่งปรกอธิฐานจิต 4 รูป 4 ทิศ ได้แก่ หลวงปู่จื่อ วัดเขาตาเงาะอุดมพร จ.ชัยภูมิ, หลวงพ่อทอง วัดพระบาทเขายายหอม จ.ชัยภูมิ, หลวงพ่อดี วัดโนนลอย นครราชสีมา และ หลวงพ่อคูณ วัดบัลลังค์ นครราชสีมา และจะมีพิธีพุทธาภิเษก ในวันที่ 6 ตุลาคม 2559 เวลา 14.09 น. ณ บริเวณลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี โดย “พระพรหมมังคลาจารย์” เป็นประธานจุดเทียนชัย โดยขณะนี้ทางจังหวัดฯได้ประสานงานอัญเชิญพระชัยเมืองนครราชสีมา จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เพื่อให้ประชาชน ชาวจังหวัดนครราชสีมาได้สักการะ สำหรับ “พระชัยเมืองฯรุ่นแพ้ไม่เป็น” ได้จัดสร้าง ชุดทองคำ 99 ชุด บูชา 49,999 บาท, รูปหล่อพระชัยเมือง หน้าตัก 9 นิ้ว จัดสร้าง 1,999 องค์ บูชา 3,999 บาท, ผ้ายันต์ที่ระลึกฉลองชัยชนะท้าวสุรนารีครบรอบ 190 ปี สร้าง 59,999 ผืน บูชาผืนละ 199 บาท, เหรียญพระชัยเมือง และ เหรียญคุณย่าโม (เนื้อทองแดงรมดำ) สร้าง 25,559 ชุด บูชาชุดละ 199 บาท, เหรียญพระชัยเมือง เนื้อเงิน สร้าง 1,999 องค์ บูชา 1,499 บาท, เหรียญพระชัยเมือง เนื้อนวะ สร้าง 1,999 องค์ บูชา 399 บาท และรูปหล่อลอยองค์ ขนาด 2.5 ซ.ม. เนื้อชนวนมงคล(มวลสารในพิธีนำฤกษ์ ) สร้าง 5,999 องค์ บูชา 499 บาท โดยสามารถสั่งจองได้ที่ ศูนย์ประสานงานจัดสร้าง “พระชัยเมืองนครราชสีมา” ชั้น 1 ศาลากลาง จ.นครราชสีมา โทร.044341300, 081- 9669553 กำหนดรับวัตถุมงคลในวันที่ 10 ตุลาคม 2559 ประวัติ“พระชัยเมืองนครราชสีมา” “พระชัย” เป็นพระพุทธรูปสำคัญมาแต่บรรพกาล มีตำนานการสร้างเป็นของ “สมเด็จพนรัตน์” วัดป่าแก้ว สมัย “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” มีความหมายว่า “ชัยชนะ” โดยสร้างเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่มีความหมาย “ปราบมารได้ชัยชนะ” ซึ่งเดิมใช้เพื่ออัญเชิญไปในกองทัพยามออกศึกสงคราม ต่อมาใช้ในพิธีกรรมเรียกว่า “พระชัยพิธี” สำหรับขจัดมาร อุปสรรคและอำนวยให้สำเร็จผล “พระชัยเมืองนครราชสีมา” เป็น “พระพุทธรูปปางมารวิชัย” ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 19 – 20 ชนิดสำริด หน้าตักกว้าง 15.3 ซม. สูง 22.2 ซม. ประทับนั่งสมาธิราบบนฐานเตี้ย พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวสอดอยู่ใต้ชายรัดประคดพระพักตร์สี่เหลี่ยม พระเนตรเบิกกว้าง กรอบพระพักตร์มีไรพระศกสองเส้น ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีทำเป็นรูปคล้ายหม้อน้ำแบบศิลปะที่เรียกว่า “พระพุทธรูปอู่ทอง 2” มีจารึกอักษรขอม ภาษาบาลี (รูปแบบอักษรประมาณพุทธศตวรรษที่ 22–23) ที่องค์พระโดยรอบเป็นยันต์และหัวใจพระคาถาต่างๆ เช่น พระคาถาพระเจ้าห้าพระองค์ (นะ โม พุท ธา ยะ) ปัจจุบัน “พระชัยเมืองนครราชสีมา” เก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร (เลขทะเบียน อ.ย.25) ซึ่งสันนิษฐานตามหลักฐานว่า “สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ” ได้รับมอบจาก “เจ้าเมืองนครราชสีมา” เมื่อคราวมาตรวจราชการเมืองนครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2432 หรือ ปี พ.ศ. 2472 และเป็นพระพุทธรูปสำคัญ 1 ใน 9 องค์ที่ใช้สำหรับประกอบพิธีต่างๆของบ้านเมืองในปัจจุบัน
บุญใหญ่ ครอบครัวสุวรรณชาติ บริจาคที่ดินให้ รพ.มหาราช ที่ดินเนื้อที่ 237.4 ตารางวา พื้นที่ติดกับตลาดสุรนารี
ปีนี้เตรียมตัวโยก neon space Yappah Fest #4 เทศกาลดนตรีใหญ่กลางเมืองโคราช วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ที่ Mayfair Market