i ในวันที่ 11 มี.ค. 59 เวลา 08.09 น. ที่ ศาลาพระชัยเมือง บริเวณศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีอัญเชิญพระชัยเมืองนครราชสีมาขึ้นแท่นประดิษฐานบนแท่นฐานใหม่ โดยมีนายธงชัย ลืออดุลย์ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ นางณัฏฐินีภรณ์ จันทรโณทัย นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา นายสุรพันธ์ ดิสสะมานรอง ผวจ.นม นายสุวิทย์ คำดี รอง ผวจ.นม. และข้าราชการ ร่วมในพิธี “พระชัย” เป็นพระพุทธรูปสำคัญมาแต่บรรพกาล มีตำนานการสร้างเป็นของสมเด็จพนรัตน์วัดป่าแก้ว สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีความหมายว่า “ชัยชนะ” โดยสร้างเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีความหมายปราบมารได้ชัยชนะ ซึ่งเดิมใช้เพื่ออัญเชิญไปในกองทัพยามออกศึกสงคราม ต่อมาใช้ในพิธีกรรมเรียกว่า “พระชัยพิธี” สำหรับขจัดมาร อุปสรรคและอำนวยให้สำเร็จผล ภาพของพระชัยนครราชสีมา / Credit : สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา พระชัยเมืองนครราชสีมา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 19 – 20 ชนิดสำริด หน้าตักกว้าง 15.3 ซม. สูง 22.2 ซม. ประทับนั่งสมาธิราบบนฐานเตี้ย พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวสอดอยู่ใต้ชายรัดประคดพระพักตร์สี่เหลี่ยม พระเนตรเบิกกว้าง กรอบพระพักตร์มีไรพระศกสองเส้น ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีทำเป็นรูปคล้ายหม้อน้ำแบบศิลปะที่เรียกว่า พระพุทธรูปอู่ทอง 2 มีจารึกอักษรขอม ภาษาบาลี (รูปแบบอักษรประมาณพุทธศตวรรษที่ 22 – 23) ที่องค์พระโดยรอ เป็นยันต์และหัวใจพระคาถาต่างๆ เช่น พระคาถาพระเจ้าห้าพระองค์ (นะ โม พุท ธา ยะ) . ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร (เลขทะเบียน อ.ย.25) ซึ่งสันนิษฐานตามหลักฐานว่าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้รับมอบจากเจ้าเมืองนครราชสีมา เมื่อคราวมาตรวจราชการเมืองนครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2432 หรือ ปี พ.ศ. 2472 และเป็นพระพุทธรูปสำคัญ 1 ใน 9 องค์ที่ใช้สำหรับประกอบพิธีต่างๆ ของบ้านเมืองในปัจจุบัน แหล่งข้อมูลและภาพประกอบ : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา
บุญใหญ่ ครอบครัวสุวรรณชาติ บริจาคที่ดินให้ รพ.มหาราช ที่ดินเนื้อที่ 237.4 ตารางวา พื้นที่ติดกับตลาดสุรนารี
ปีนี้เตรียมตัวโยก neon space Yappah Fest #4 เทศกาลดนตรีใหญ่กลางเมืองโคราช วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ที่ Mayfair Market