เมื่อฤดูฝนผ่านพ้นไป แต่เมื่อดูสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำหลักของจังหวัดนครราชสีมา อย่างเช่น อ่างเก็บน้ำลำตะคอง กลับพบว่าในปีนี้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างฯมีปริมาณน้อยมาก ส่งผลให้น้ำต้นทุนเหลือน้อยลงเช่นกัน

255589898

ความกังวลเหล่านี้ส่งผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องหันมาทบทวนมาตรการต่างๆ ที่จะต้องดำเนินการเพื่อบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอและสามารถหล่อเลี้ยงประชาชนในพื้นที่ได้จนถึงฤดูฝนปีหน้า

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา เวลา 10.00น. ณ ห้องประชุมชั้น 3 สำนักชลประทานที่ 8 นครราชสีมา นายสุวิทย์ คำดี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในการประชุมและวางแผนบริหารจัดการน้ำภายในเขื่อนลำตะคอง เพื่อป้องกันปัญหาภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในพื้นที่ลุ่มน้ำลำตะคอง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สำนักงานชลประทานที่8 , มณฑลทหารบกที่21 , ฝ่ายปกครอง , องค์การบริหารส่วนตำบล , กำนันผู้ใหญ่บ้าน และตัวแทนกลุ่มผู้ใช้น้ำ (JMC) ของลุ่มน้ำลำตะคอง

266987877

 

จากผลการหารือในที่ประชุมได้มีการกำหนดมาตรการในการบริหารจัดการน้ำภายในเขื่อนลำตะคอง ที่ปัจจุบันมีปริมาณกักเก็บ อยู่ที่ 136.454 ล้ายลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 43.39 เปอร์เซ็นต์ จากความจุกักเก็บทั้งสิ้น 314.49 ลูกบาศก์เมตร หรือมีปริมาณน้ำที่สามารถใช้การได้ อยู่ที่ 113.735 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 36.16 เปอร์เซ็นต์ โดยได้ให้มีการจ่ายน้ำออกจ่ายเขื่อนลำตะคองไม่เกิน 5 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือประมาณวันละ 432,000 ลูกบาศก์เมตร

Untitled-5

พร้อมกันนี้ได้ให้ทางเทศบาลนครนครราชสีมานั้นได้เตรียมดำเนินการก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อส่งน้ำโดยตรงจากทางเขื่อนลำตะคองผ่านระบบท่อ ที่อาศัยหลักการส่งน้ำจากเขื่อนลำตะคองซึ่งอยู่ในพื้นที่สูงกว่าผ่านท่อเข้ามายังพื้นที่ท้ายเขื่อนซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า ลดภาระต้นทุนจากการใช้พลังงานในการสูบน้ำได้มากกว่า จากที่เคยสูบน้ำจากเขื่อนลำแชะผ่านท่อเข้ามาผลิตน้ำประปาซึ่งมีต้นทุนในการสูบน้ำถึง 40% เมื่อเทียบกับค่าบริการน้ำประปา โดยน้ำที่รับจากลำตะคองผ่านท่อจะเข้ามากักเก็บไว้ในแหล่งกักเก็บน้ำตามโรงผลิตน้ำประปาในแต่ละแห่ง

Untitled-3

ซึ่งในส่วนน้ำที่จะนำมาผลิตประปาเพื่อหล่อเลี้ยงในภายเขตเทศบาลนครนครราชสีมาและพื้นที่ใกล้เคียง จะมีการส่งน้ำผ่านท่อมาเก็บที่โรงผลิตประปามะขามเฒ่า ด้านนายสุทธิโรจน์ กองแก้ว ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง เปิดเผยว่า การที่ทางชลประทานได้กำหนดให้ทางเขื่อนลำตะคองได้จัดส่งน้ำออกมาจากเขื่อนได้ไม่เกิน 5 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เนื่องเพื่อรักษาปริมาณน้ำต้นทุนที่อยู่ภายในเขื่อนให้ถึงช่วงเดือน เมษายน ,พฤษภาคม 2559 ที่ทางกรมอุตุนิยมวิทยาๆได้คาดการณ์ไว้ว่าในช่วงดังกล่าวในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จะมีปริมาณฝนที่ตกลงมาในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

Untitled-4

ส่วนในเรื่องของการประสานให้ทางเทศบาลนครนครราชสีมา ดำเนินการสูบน้ำไปผลิตประปา โดยการสูบน้ำโดยตรงจากเขื่อนลำตะคอง ที่ผ่านระบบท่อส่งน้ำที่เป็นระบบปิด เพราะถ้าส่งน้ำในระบบเปิดผ่านลำคลองปกติปริมาณน้ำที่ได้มีการจัดส่งออกไปในปริมาณ 5 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีนั้นจะทำให้ปริมาณน้ำไหลลงสู่พื้นที่ต่ำช้าและปริมาณน้ำก็จะสูญเสียจากการละเลยและการสูบน้ำจากประชาชนที่อาศัยอยู่ติดลำน้ำลำตะคอง นายสุทธิโรจน์ฯกล่าว


Comments are closed.

Check Also

เปิดทางเชื่อม มอเตอร์เวย์ M6 – ถนนสุรนารี 2

เปิดทางเชื่อม มอเตอร์เวย์ M6 – ถนนสุรนารี 2 ตั้งแ … …