สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้ร่วมกันวางแผนและออกแบบระบบขนส่งมวลชนในเขตเมืองเมืองนครราชสีมา ในโครงการ “ออกแบบระบบจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา” วงเงิน 43,700,000 บาท เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการจราจรอย่างยั่งยืนและพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ ให้เกิดการเชื่อมต่อกับโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ รวมไปถึงอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชน นักธุรกิจ และนักท่องเที่ยวไปยังแหล่งอุตสาหกรรม แหล่งท่องเที่ยวและวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดนครราชสีมา นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ ลด การใช้และนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ เลือกรูปแบบที่เหมาะสมและเกิดขึ้นได้จริง สำหรับการศึกษาและออกแบบในครั้งนี้ จะเป็นการคัดเลือกระบบที่เหมาะสมกับเมืองโคราชมากที่สุด และสามารถพัฒนาให้ก่อสร้างได้จริง เป็นต้นแบบในการนำไปพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเขตเมืองอื่นๆ ในอนาคต ระบบรางที่ใช้เป็นตัวเลือกในการออกแบบ ระบบล้อยางที่ใช้เป็นตัวเลือกในการออกแบบ สำหรับระยะเวลาดำเนินการศึกษาออกแบบกินเวลา 14 เดือน โดยเริ่มปฏิบัติงานวันที่ 4 มกราคม 2559 สิ้นสุดการปฏิบัติงานวันที่ 3 มีนาคม 2560 การศึกษาออกแบบในครั้งนี้ จะมีตั้งแต่กระบวนการเลือกรูปแบบระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสม ว่าเมืองโคราชมีความเหมาะสมกับรูปแบบใด เช่น รถราง (TRAM) รถเมล์ด่วนพิเศษ (BRT) รถรางเดี่ยว (MONORAIL) รถไฟฟ้า (MRT) หรือระบบที่เหมาะสมอื่นๆ โดยในครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยจัดขึ้นที่โรงแรมดุสิตปริ๊นเซส จังหวัดนครราชสีมา และมีการเข้าพื้นที่เพื่อหารือหรือพบปะกับกลุ่มผู้นำชุมชน ตลอดจนจัดสัมมนาครั้งที่ 2 เพื่อรับฟังความคิดเห็นในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2560 วิดีทัศน์โปรโมทการออกแบบระบบจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา โดยท่านที่สนใจหรือต้องการติดตามกระบวนการออกแบบระบบจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา ในครั้งนี้ สามารถติดตามเพิ่มเติมต่อได้ที่ Facebook ระบบขนส่งสาธารณะโคราช และที่เว็บไซต์ http://www.korat-publictransport.sut.ac.th/index.php
ลงพื้นที่มอเตอร์เวย์ M6 เตรียมความพร้อมเปิดใช้ “หินกอง – ปากช่อง” ด้านซ้ายทาง เป็นการชั่วคราว ช่วงสงกรานต์ 2568