จากกระแสสุขภาพมาแรง ผู้คนต่างเสาะแสวงหาอาหารปลอดภัยมารับประทานกันเต็มที่ แต่ด้วยความต้องการที่พุ่งสูงมากเกินกว่าความสามารถในการผลิต จึงเกิดการนำสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานมาสวมรอย แอบอ้างผู้บริโภคให้กินผักปนเปื้อนสารเคมีกันอย่างไม่รู้ตัว แม้แต่ในแหล่งปลูกสินค้าเกษตรชื่อดังอย่าง “วังน้ำเขียว” จังหวัดนครราชสีมา ก็ยังเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวขึ้น Credit: folkrice จึงเป็นที่มาของ “วังน้ำเขียว ตลาดนัดสีเขียว Green Market” ตลาดจำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดภัย ณ บริเวณ กม. 7 ปากทางขึ้นเขาแผงม้า อำเภอวังน้ำเขียว ที่ริเริ่มโดยลุงโชค หรือ “โชคดี ปรโลกานนท์” ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2556 และเจ้าของสวนลุงโชค แหล่งเรียนรู้การเกษตรแบบพึ่งตนเอง ด้วยความตั้งใจที่จะให้ตลาดเป็นทั้งช่องทางแลกเปลี่ยนอาหารปลอดภัยและเป็นกระบวนการเรียนรู้ของสังคม โดยหวังให้ผู้บริโภคเข้าถึงและเข้าใจระบบการผลิตและการกินเพื่อความยั่งยืน Credit: folkrice Why Green market? เป้าหมายของลุงโชคก็คือความสุขที่ได้ทำ ได้คิด ได้เกิดการเรียนรู้มากมาย กลุ่มแรกคือกลุ่มคนไกล้ตัว กลุ่มอนุรักษ์เขาแผงม้าได้เกิดการเรียนรู้ว่าจะต้องคิดและอยู่อย่างไรในบริบทที่สังคมและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นเปลี่ยนไป ต้องมีการปรับตัว แต่จุดยืนไม่เปลี่ยนไป Credit: folkrice กลุ่มชาวบ้านที่เป็นเกษตรกรรายย่อยเกิดการเรียนรู้ที่จะต้องทำเกษตรที่จะต้องยกระดับความคิดของตัวเอง ปลูกเอง ทำเอง ขายเองได้ และต้องพึ่งพาตัวเอง Credit: folkrice ผลผลิตต้องมีความปลอดภัย เพราะถ้าไม่ปรับความคิดใหม่ ต่อไปเกษตรกรรายย่อยอยู่ไม่ได้แน่นอน จากการถูกระบบทุนใหญ่ผูกขาดทั้งหมด ไม่ตายแต่ไม่โตเหมือนกับปลาที่เขาเลี้ยงโชว์ไว้ตามร้านอาหาร เอาไว้ให้ผู้บริโภคดูเกิดความมั่นใจและความชอบธรรมในสังคมเท่านั้น Credit: folkrice ตลาดสีเขียว จึงเป็นโอกาสหนึ่ง เป็นพื้นที่ทางสังคมเล็กๆ ให้มีทางเลือก ให้เกษตรกรรายย่อยและกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้มีพื้นที่แลกเปลี่ยนทางความคิดและสินค้า เป็นห้องเรียนจริงๆ โดยมีตลาดนัดเป็นเครื่องมือที่มีชีวิตและศิลปะ.. เป็นตลาดที่เริ่มต้นจากคนปลูก..ถึงคนกินด้วยความสำนึกต่อชีวิตและธรรมชาติ ภายในมีสินค้าที่น่าสนใจมากมาย สำหรับสินค้าหลักที่นำมาจำหน่ายในตลาดนัดสีเขียวแห่งนี้ก็คือผักปลอดภัยที่สามารถมั่นใจได้ว่าปลอดภัยจริงๆ เพราะมีการตั้งคณะกรรมการคัดเลือกแปลงผักของเกษตรกรในเครือข่ายมาจำหน่ายในราคาย่อมเยา Credit: folkrice . นอกจากนี้ ยังมีสินค้าทำมืออย่างกระเป๋าผ้าเพนต์ลาย สินค้าไอเดียจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ รวมทั้งจำหน่ายพันธุ์ไม้ เมล็ดพันธุ์ที่สามารถปลูกเองได้ง่ายๆ เช่น ฟักข้าว เสาวรส ฯลฯ ส่วนผลไม้ตามฤดูกาลของวังน้ำเขียวในช่วงนี้ คือ พุทรานมสด ซึ่งในตลาดนัดมีเกษตรกรที่ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์จริงๆ มาจำหน่ายด้วยตนเองเพียงวันละประมาณ 30-40 กิโลกรัม หมดแล้วหมดเลย ที่นี่จึงเป็นเหมือนโชว์รูมสินค้าผลิตเองของเกษตรกร ผู้ผลิตสามารถพบปะกับผู้บริโภคได้โดยตรง ลดขั้นตอนพ่อค้าคนกลาง อีกทั้งเกษตรกรก็ได้เรียนรู้การปลูกผักปลอดภัย ช่วยลดต้นทุน เรียนรู้การขาย การทำแพ็กเกจจิ้งด้วยตนเอง และยังกระตุ้นให้ท้องถิ่นตื่นตัวเรื่องการผลิตพืชปลอดภัยที่เป็นจุดเด่นของวังน้ำเขียวด้วย Credit: folkrice . Credit: folkrice ** ไฮไลท์หลักๆ คงหนีไม่พ้น “ผักปลอดสารพิษ” ที่ทั้งสดและสะอาดน่ารับประทาน มาให้เราเลือกสรรมากมายหลากหลายชนิด นอกจากนั้นยังมีผักพื้นบ้านที่หาทานได้ยาก อาทิ ผักกูด ผักหนาม ผักแว่น ที่ชาวบ้านเก็บมาจากห้วยหนองตามธรรมชาติ หรือปลูกกันเอง ซึ่งเป็นผักที่ศัตรูพืชน้อย จึงไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี และยังมีผักเมืองหนาวอย่างผักสลัด เรดโอ๊ก ที่จำหน่ายในราคาไม่สูงด้วย หรือจะเป็นลูกมัลเบอร์รี่ หรือ ลูกหม่อน ก็มีรสชาติกลมกล่อม หวานอมเปรี้ยว จะซื้อกลับไปทาน หรือซื้อไปฝากญาติผู้ใหญ่ช่วงปีใหม่นี้ก็เป็นความคิดที่ไม่เลวเลยทีเดียว ใครมีโอกาสไปเยือนวังน้ำเขียว หากสังเกตเห็นกังหันไม้ไผ่หมุนอยู่หน้าตลาดเล็กๆ ริมถนน บริเวณปากทางขึ้นเขาแผงม้า สามารถแวะเวียนไปซื้อขนม ผลไม้ ผักสดอร่อยๆ ปลอดภัย ราคาไม่แพงได้ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ แหล่งข้อมูล: Loongchoke Unclechoke Garden และ ประชาชาติธุรกิจ
บุญใหญ่ ครอบครัวสุวรรณชาติ บริจาคที่ดินให้ รพ.มหาราช ที่ดินเนื้อที่ 237.4 ตารางวา พื้นที่ติดกับตลาดสุรนารี
ปีนี้เตรียมตัวโยก neon space Yappah Fest #4 เทศกาลดนตรีใหญ่กลางเมืองโคราช วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ที่ Mayfair Market