ในปัจจุบันจังหวัดนครราชสีมา ถือเป็นเมืองหนึ่งที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่างทำให้พื้นที่แห่งนี้ เป็นศูนย์รวมของเศรษฐกิจประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การค้า อุตสาหกรรม มีการลงทุนและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เมืองเจริญเติบโตตามไปด้วยอย่างรวดเร็ว เช่นกัน

การพัฒนาเริ่มกระจายตัวออกไปยังทั่วทุกมุมเมือง ไม่กระจุกอยู่ในเฉพาะเขตเมือง หรือพื้นที่เศรษฐกิจการค้า จึงมีความจำเป็นที่สุดที่จะต้องมีการวางแผนด้าน “ผังเมือง” เพื่อส่งเสริมให้เมืองมีการพัฒนาไปอย่างมีระเบียบ สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนภายในเมืองอย่างแท้จริง

ผังเมืองรวม เมืองนครราชสีมา ในปัจจุบันถือว่าขาดอายุการบังคับใช้ไปแล้ว พูดง่ายๆ ก็คือตอนนี้โคราชไม่มีผังเมืองรวมบังคับใช้ ซึ่งโดยปกติแล้วผังเมืองรวมจะมีอายุหลังประกาศใช้ฉบับละ 5 ปี โดยเมื่อครบ 5 ปีแล้วต้องมีการประกาศใช้ฉบับใหม่ทดแทน ที่ต้องกำหนดให้มีอายุการใช้งานเพราะว่า เมืองแต่ละเมืองมีการพัฒนา ความต้องการใช้งานหรือพัฒนาในพื้นที่ต่างๆ จึงเป็นไปอย่างรวดเร็ว ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้สอดล้องกับการพัฒนาและความต้องการของชาวเมืองอยู่ตลอดเวลา

แล้วถ้าครบ 5 ปีแล้ว ไม่มีการประกาศใช้ฉบับใหม่ล่ะ? … สามารถอนุโลมให้ใช้ฉบับเดิมไปก่อน ครั้งละ 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ครั้ง ก็คือใช้ต่อได้อีก 2 ปี รวมกับของเดิม 5 ปี อายุผังเมืองรวมฉบับหนึ่งจะมี 7 ปี และแน่นอนที่สุด ผังเมืองรวมเมืองโคราช เลยจุดนั้นมาแล้ว

ก่อนจะมาดูผังเมืองรวมเมืองโคราช เรามารู้เบื้องต้นกันก่อน ว่าสีต่างๆ รวมไปถึงเครื่องหมายสัญลักษณ์ในผังนั้นมีความหมายว่าอย่างไร

1439303887

1439303814

 

กระบวนการในการทำผังเมืองรวมขึ้นมา 1 ฉบับนั้น ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง
พ.ศ. 2518 มีขั้นตอนใหญ่ๆ 18 ขั้นตอน  ก่อนที่จะมารถส่งกฎกระทรวงไปประกาศราชกิจจานุเบกษา และประกาศใช้ได้

ผังเมืองรวม เมืองนครราชสีมา ได้ดำเนินการตามขั้นตอน จนกระทั่งมีการติดประกาศเพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมครบ 90 วันแล้ว ในขั้นตอนปัจจุบันกำลังอยู่ในการรวบรวม ตรวจสอบ พิจารณาคำร้อง และแจ้งผลการพิจารณาคำร้องต่อผู้ร้อง ซึ่งอยู่ในขั้นตอนที่ 7 จากทั้งหมด 18 ขั้นตอน จำนวนผู้ร้องต่อผังเมืองรวมเมืองโคราชมีมากกว่า 200 ราย

ประเด็นสำคัญที่มีการยื่นคำร้องคือ การกำหนดเขตเมืองชั้นใน (โซนภายในคูเมือง) ให้เป็นพื้นที่สีน้ำตาลอ่อน จากเดิมที่เป็นพื้นที่สีแดง แล้วทำไมถึงเป็นเช่นนี้?

1439303474

 

ผังเมืองรวม ที่ติดประกาศเตรียมเสนอใช้นั้น ได้กำหนดให้โซนภายในคูเมืองเป็นสีน้ำตาลอ่อนทั้งหมด ซึ่งพื้นที่สีน้ำตาลนั้นหมายถึงเขตที่ดินประเภทอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย ประเด็นอยู่ที่ ความเห็นแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ เห็นด้วยที่เป็นสีน้ำตาลอ่อน และไม่เห็นด้วย สมควรกลับไปใช้สีแดงเหมือนเดิม

ฝ่ายที่เห็นด้วย ว่าภายในโซนคูเมืองควรเป็นพื้นที่สีน้ำตาลอ่อน มองว่า พื้นที่ภายในคูเมืองส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ของเมืองโคราช ซึ่งผังเมืองตรงนี้มีการออกแบบโดยช่างชาวฝรั่งเศษ ประวัติความเป็นมายาวนาน ตึกรามบ้านช่อง กำแพงเมือง หรือสิ่งก่อสร้างสมัยเก่าในเขตนี้ สมควรจัดเป็นพื้นที่อนุกรักษ์

และอีกฝ่ายหนึ่งที่เห็นต่างคือ การกำหนดโซนพื้นที่อนุรักษ์ ควรกำหนดเฉพาะเจาะจง แบบละเอียดว่าตรงไหนควรจะอนุรักษ์ หรือว่าสถานที่ใดควรเป็นพื้นที่สีแดง เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพื้นที่โซนในคูเมืองปัจจุบันมีการพัฒนาไปมาก หากมีการกำหนดเป็นเขตสีน้ำตาลอ่อนหมด จะทำให้ที่ดินในบริเวณคูเมืองมีมูลค่าต่ำลงมาก ยากแก่การพัฒนาในอนาคต เพราะไม่สามารถสร้างอาคารอยู่อาศัยขนาดใหญ่ได้ พื้นที่พานิชยกรรมสร้างได้ไม่เกิน 300 ตร.ม. ตึกก็จะสร้างได้ไม่เกิน 3 ชั้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นไปในปัจจุบัน ผู้ที่เห็นด้วยในส่วนนี้อยากให้มีการพิจารณากำหนดเขตสีน้ำตาลอ่อนที่ชัดเจน ว่าพื้นที่ใดควรอนุรักษ์ หรือพื้นที่ใดควรพัฒนาต่อไปควบคู่กัน ไม่ใช่คลุมพื้นที่สีน้ำตาลอ่อนทั้งหมดในคูเมือง

ทราบมาว่าจะมีการหารือในเรื่องนี้อีกครั้ง … แล้วคุณล่ะ คิดว่าผังฯควรเป็นสีใด ?

ท่านทีมีส่วนได้เสียในพื้นที่ สามารถตรวจสอบพื้นที่ของตนว่าอยู่ในเขตพื้นที่สีใด ได้ที่ สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนครราชสีมา ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ชั้น 1 ถ.มหาดไทย โทร.0-4424-4311


Comments are closed.

Check Also

เปิดทางเชื่อม มอเตอร์เวย์ M6 – ถนนสุรนารี 2

เปิดทางเชื่อม มอเตอร์เวย์ M6 – ถนนสุรนารี 2 ตั้งแ … …