คำขวัญประจำอำเภอ ปลาอร่อย อ้อยหวาน น้ำตาลดี ลำชีสวย รวยน้ำใจ อำเภอแก้งสนามนาง เดิมเป็นตำบลใน ตำบลหนึ่งที่ตั้งอยู่ในอำเภอบัวใหญ่ ต่อมาเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2529 ได้มีการแยก ตำบลแก้งสนามนาง ตำบลโนนสำราญ ตำบลบึงพะไล และตำบลสีสุก มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอแก้งสนามนาง แต่ยังคงขึ้นกับอำเภอบัวใหญ่เช่นเดิม และ ในวันที่ 4 พ.ย. 2536 จึงได้ยกฐานะเป็น อำเภอแก้งสนามนาง แก้งสนามนางเป็นเป็นอีกหนึ่งอำเภอที่มีความสำคัญมาตั้งแต่ในอดีต เนื่องจากบริเวณนี้จะใช้เป็นท่าสำหรับข้ามแม่น้ำชี เพื่อให้ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน ได้ติดต่อกันระหว่าง อำเภอบัวใหญ่ และจังหวัดชัยภูมิ เพื่อสานความสัมพันธ์ และติดต่อค้าขาย จนมาถึงยุคที่รถไฟได้เข้ามาถึงกลางภาคอีสาน การขนส่ง ลำเลียงสินค้า ทำให้การเดินทางเข้าสู่เมืองหลวงมีความสะดวกสบายมากขึ้น ผู้คนจากอำเภอแก้งสนามนางและอำเภอบัวใหญ่สามารถมาขึ้นรถไฟเพื่อเดินทางไปยังเมืองหลวงได้ แต่ในส่วนของการซื้อขายสินค้าจากจังหวัดชัยภูมิเพื่อเข้าเมืองหลวง ยังคงลำเลียงข้ามแม่น้ำชีและมาขึ้นรถไฟที่อำเภอบัวใหญ่เช่นเดิม ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2480 รัฐบาลได้เข้าไปพัฒนาสร้างถนนลูกรัง และ สร้างสะพานเหล็กข้ามลำน้ำชี เพื่อให้เป็นอีกเส้นทางหนึ่ง ที่ใช้ติดต่อกันระหว่าง จังหวัดชัยภูมิกับอำเภอบัวใหญ่ และใช้เป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าจากชัยภูมิสู่กรุงเทพฯ ด้วยโดยการนำมาบรรทุกรถไฟที่สถานีรถไฟบัวใหญ่ จนถึงปี พ.ศ. 2513 ก็รื้อสะพานเหล็กสร้างใหม่เป็นสะพานคอนกรีตปัจจุบันถนนสายนี้กลายเป็นทางหลวงหมายเลข 202 และในส่วนของชื่ออำเภอที่เรียกว่าแก้งสนามนางนั้น ที่มาที่ไปของชื่อนี้คือ คำว่า “แก้ง” เป็นภาษาท้องถิ่น ที่ใช้กันของอีสาน หมายถึง “แก่งหินกลางลำน้ำ” และท่าข้ามแม่น้ำต่าง ก็มักจะตั้งชื่อตามแหล่งชุมชนนั้น เช่น ท่าข้าม “แก้งโก” (แก่งต้นตะโก) จึงเป็นข้อสังเกตให้เห็นว่า ที่ชุมชนที่ตั้งอยู่ริมแก่งทั้งสองนี้จะมีชื่อตามชื่อแก่งว่า หมู่บ้าน “แก้งขาม”และหมู่บ้าน “แก้งโก” เหตุผลที่ แก้งสนามนาง ได้ยกระดับขึ้นมาเป็นถึงอำเภอคือ แก้งสนามนาง เป็นชุมชนขนาดใหญ่ ที่มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจ เป็นท่าข้ามในการติดต่อกับจังหวัดชัยภูมิมาตั้งแต่อดีต หมู่บ้านแห่งนี้ก็เรียกขนานนามตามชื่อของแก่งหินเหมือนชุมชนอื่น ๆ แต่ด้วยเหตุที่เป็นแก่งหินขนาดใหญ่กลางลำน้ำชีที่ยามหน้าแล้งน้ำลด สาว ๆ หนุ่ม ๆ มักพากันลงเล่นน้ำที่แก่งนี้เป็นที่สนุกสนาน จึงเรียกชื่อชุมชนนี้ว่า “แก้งสนามนาง” แต่ในปัจจุบันด้วยความเจริญที่เข้ามา และการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา พื้นที่ที่เคยเป็นเกาะแก่งในบริเวณนี้จึงได้หายไป เหลือเพียงถนนเอาไว้สัญจรและชื่ออำเถอที่สามารถบอกที่มาที่ไปของพื้นที่บริเวณนี้ได้เท่านั้นเอง —————————————————————————— ขอบคุณที่มาจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/อำเภอแก้งสนามนาง ขอบคุณภาพประกอบจาก : www.sanamnang.com http://feelthai.blogspot.com/2013/02/flowerfestival-gangsanamnang-korat.html http://www.oknation.net/blog/guidepong/2009/03/01/entry-5
บุญใหญ่ ครอบครัวสุวรรณชาติ บริจาคที่ดินให้ รพ.มหาราช ที่ดินเนื้อที่ 237.4 ตารางวา พื้นที่ติดกับตลาดสุรนารี
ปีนี้เตรียมตัวโยก neon space Yappah Fest #4 เทศกาลดนตรีใหญ่กลางเมืองโคราช วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ที่ Mayfair Market