เมื่อวันที่ 17 มี.ค. ที่ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยเทศบาลนครนครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผวจ.นครราชสีมา พร้อมนายสรายุทธ แก้วกุลปรีชา นายอำเภอเมือง เรียกผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยนายพงษ์เลิศ สุภัทรวณิชย์ รองนายกทน. นายอำพร มณีกรรณ์ นายกเทศมนตรีตำบลโพธิ์กลาง อ.เมือง นายจำเริญ เปล้ากระโทก นายกอบต.หนองบัวศาลา อ.เมือง และผู้นำชุมชน ร่วมประชุม หารือแนวทางแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยส่งกลิ่นเหม็นและทำให้น้ำดิบในสระน้ำบ้านหนองปลิงเน่าเสีย บรรยากาศระหว่างที่คณะของนายวิเชียรลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง ได้มีนายจำลอง มหิงษาเดช ผู้ใหญ่บ้านหนองปลิงใหม่ หมู่ 9 ต.หนองบัวศาลา และชาวบ้านยืนถือป้ายเขียนข้อความ “ขอให้คสช.และ ผู้ว่าฯช่วยเหลือ คืนความสุขให้ด้วย” พร้อมยื่นหนังสือเรื่องปัญหาความเดือดร้อนจากบ่อขยะเทศบาล นายจำลอง เปิดเผยว่า เป็นเวลาร่วม 10 ปีแล้วที่ชาวบ้าน หมู่ 9 ได้รับผลกระทบจากบ่อขยะ ทั้งน้ำเน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็นแสบจมูก ช่วงฤดูฝนน้ำจากขยะไหลลงสู่สระน้ำ ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตในน้ำตายอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดชาวบ้านรายหลายล้มป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ แต่เจ้าหน้าที่ไม่เคยเหลียวแลให้การช่วยเหลือตามความเหมาะสม ชาวบ้านจึงมีมติให้ย้ายบ่อขยะออกจากหมู่บ้านและรับผิดชอบต่อปัญหาดังกล่าว นายวิเชียร เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่ตรวจสอบพบปัญหาเกิดจากบ่อขยะ จึงสั่งการให้เทศบาลนครนครราชสีมาเร่งแก้ไขปัญหา เยียวยาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบภายใน 1 สัปดาห์ พื้นที่ชุมชนจะต้องไม่มีกลิ่นเหม็นและน้ำเน่าเสีย ส่วนเทศบาลนครนครราชสีมาและอปท.ที่อยู่รอบบ่อขยะ ต้องประชุมร่วมกำหนดแผนป้องกันมลพิษพร้อมปรับปรุงทัศนียภาพ ซึ่งต้องเป็นแนวทางที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีก ด้านนายพงษ์เลิศ กล่าวว่า สถานการณ์ของบ่อขยะแห่งนี้ในแต่ละวัน มีปริมาณขยะในพื้นที่ 37.5 ของเทศบาลนครนครราชสีมา เฉลี่ย 230 ตัน และมีขยะจากอปท. ในเขตอ.เมือง อ.ขามทะเลสอ อ.เฉลิมพระเกียรติ และอ.โชคชัย บางส่วน ได้ถูกขนมาทิ้งกว่า 200 ตัน แต่ระบบที่ออกแบบ โดยให้ปุ๋ยอินทรีย์และพลังงานไฟฟ้าเป็นผลผลิตที่ได้จากการกำจัดแบบครบรวงจร มีขีดความสามารถรับได้ไม่เกิน 230 ตัน ดังนั้นปริมาณขยะประมาณ 425 ตัน จึงมีขยะมูลฝอยตกค้างต่อวันร่วม 200 ตัน ทำให้ขยะกว่า 2 แสนตัน ที่ถูกฝังกลบใน 5 บ่อ มีปริมาณเต็มพื้นที่ คงเหลือบ่อสุดท้าย ซึ่งมีขยะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำเสียที่อยู่ในบ่อได้ไหลทะลักออกมาส่งผลกระทบดังกล่าว แนวทางได้นำทรายและดินถมพื้นที่เพื่อซับน้ำเสียและใช้ผงปูนซีเมนต์โรยทับหน้า เพื่อป้องกันการเกิดกลิ่นพร้อมเร่งฉีดน้ำยาดับกลิ่น อย่างไรก็ตาม เทศบาลนครนครราชสีมามิได้นิ่งเฉย ได้ออกแบบศึกษาความเหมาะสม เพื่อดำเนินโครงการเฟส 2 ให้มีขีดความรองรับขยะให้ได้มากกว่า 600 ตัน โดยใช้งบดำเนินการประมาณ 2 พันล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาของใช้พื้นที่กับกองทัพบก หากไม่ดำเนินการเพิ่มเติม ช่วงปลายปีจะวิกฤต เนื่องจากบ่อที่ 6 บ่อสุดท้าย จะไม่มีพื้นที่รองรับขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นใหม่ ที่มาข่าว : อ้น มติชน โคราช
บุญใหญ่ ครอบครัวสุวรรณชาติ บริจาคที่ดินให้ รพ.มหาราช ที่ดินเนื้อที่ 237.4 ตารางวา พื้นที่ติดกับตลาดสุรนารี
ปีนี้เตรียมตัวโยก neon space Yappah Fest #4 เทศกาลดนตรีใหญ่กลางเมืองโคราช วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ที่ Mayfair Market