ครบรอบ 26 ปี เหตุการณ์โศกนาฏกรรมเมืองโคราช! เมื่อวันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม 2536 เวลา 4 โมงเช้า โรงแรมชื่อดังกลางเมืองโคราช “รอยัลพลาซ่า” เป็นโรงแรมที่มีสถานบันเทิงครบวงจร ได้เกิดถล่มลงมาทั้งตึก ฝังชีวิตไปถึง 137 คน และบาดเจ็บจำนวนมาก “โรงแรมรอยัลพลาซ่าถล่ม” กลายเป็นเหตุการณ์อีกหนึ่งในประวัติศาสตร์ หายนะช็อกโลกที่ชาวโคราชต้องจดจำถึงทุกวันนี้ หากย้อนกลับไปเมื่อ วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม 2536 หรือเมื่อ 26 ปีที่แล้ว ได้เกิดโศกนาฏกรรมอาคาร โรงแรมรอยัลพลาซ่า ตั้งอยู่ระหว่างถนนจอมสุรางค์ และถนนโพธิ์กลาง เพราะสามารถเข้า-ออกได้ 2 ทาง กลางเมืองโคราช ถล่มลงมา เมื่อเวลา 10.12 น.เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตถึง 137 คน บาดเจ็บ 227 คน โดยขณะเกิดเหตุ มีการอบรมสัมมนาซึ่งมีผู้อยู่ในอาคารทั้งหมดกว่า 400 คน ประกอบไปด้วยกลุ่มข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ 47 คน ที่เหลือเป็นกลุ่มบุคคลทั่วไปที่พักอยู่ในโรงแรมและพนักงานโรงแรม ด้านการกู้ภัยได้รับการช่วยเหลือจากหลายหน่วยงาน เพื่อค้นหาผู้รอดชีวิตในซากตึกโรงแรมรอยัลพลาซ่าขณะนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะมีผู้ประสบเหตุจำนวนมากและไม่มีเครื่องมือหนักในการช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่ต้องคลานเข้าไปใต้ซากอาคารที่อาจถล่มซ้ำลงมาได้ทุกเมื่อ ซึ่งมีหลายหน่วยงานทั้งโคราชและกรุงเทพฯ ได้ระดมความช่วยเหลือผู้รอดชีวิตตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ชื่อเดิมคือ “โรงแรมเมืองใหม่เจ้าพระยา” เป็นโรงแรมที่มีสถานบันเทิง และอาบ-นวดใหญ่ที่สุดในโคราช และมีการดำเนินธุรกิจล้มเหลวจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ยึดทรัพย์ ก่อนที่ผู้ถือหุ้นชุดใหม่เข้ามาเทคโอเวอร์ และได้ฟื้นฟูกิจการ โดยมี นายเลอพงษ์ พัฒนจิตวิไล เป็นประธานบริษัทฯ นายชาตรี ล้อเลิศรัตน, นายสัญชัย สุรโชติมงคล, นายซิม แตมสำราญ, นายเลิศ เอี่ยมวงษ์ศรีกุล เป็นกรรมการบริษัทฯ และผู้บริหารโรงแรมคือ นายวิทยา วงศวัชรกาญจน์ เป็นผู้จัดการทั่วไป แต่ปัจจุบันได้เสียชีวิตแล้ว ขณะที่การฟ้องร้องดำเนินคดีต่างๆได้สิ้นสุดคดีเมื่อปลายปี 2543 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดย ศาลฎีกาพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต นายบำเพ็ญ พันธ์รัตนอิสระ วิศวกรควบคุมการก่อสร้าง ซึ่งเป็นจำเลยที่1 ส่วนผู้บริหารโรงแรมทั้งหมดพิพากษายกฟ้อง ด้วยเหตุผลจากคำพิพากษาเพราะ ผู้บริหารโรงแรมไม่มีความรู้เรื่องโครงสร้างโดยได้ว่าจ้างวิศวกรคือ นายบำเพ็ญ ซึ่งมีความรู้มารับผิดชอบในการต่อเติมอาคารโรงแรม ดังนั้นผู้บริหารจึงไม่มีความผิด ดังนั้นศาลจึงพิพากษายกฟ้องจำเลยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ในส่วนคดีแพ่งนั้นการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและผู้ที่เสียชีวิต ศาลได้พิพากษาให้ บริษัท รอยัลพลาซ่าโฮเตล จำกัด ชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและผู้ที่เสียชีวิตทั้งหมด (Cr.ภาพจำลองเหตุการณ์จาก “ไทยรัฐทีวี”) ส่วนสาเหตุของตึกโรงแรมรอยัลพลาซ่าถล่มนั้น เกิดจากการที่ โรงแรมรอยัลพลาซ่า หลังจากได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก “โรงแรมเมืองใหม่เจ้าพระยา” เป็น “โรงแรมรอยัลพลาซ่า” ซึ่งเป็นโรงแรมที่มีสถานบันเทิงครบครันอาทิ อาบอบนวด, คาเฟ่, เอ็กเซ็คคิวทีฟผับ, เลเซอร์เธค, บาร์เบอร์ เป็นโรงแรมที่ได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยนั้น ได้ปรับปรุงใหม่และมีการต่อเติมอาคารจาก 3 ชั้นเป็นอาคาร 6 ชั้น พร้อมห้องประชุมสัมมนาขนาดใหญ่อยู่ชั้นที่ 6 นอกจากโปรเจ็กต์ขยายตึกโรงแรมเป็น 6 ชั้นแล้ว ยังมีอีก 3 โครงการที่จะทำอีกคือ ปรับปรุงคาเฟ่ ซึ่งเป็นแม่เหล็กสถานบันเทิงที่ทำรายได้ดีใหม่ทั้งหมด พร้อมกับจะ สร้างอาคารจอดรถสูง 8 ชั้นที่ใช้งบสูงถึง 30 ล้าน สามารถจอดรถได้ 400 คัน และสุดท้ายเป็นการจัดงานใหญ่ ฉลองครบรอบ 10 ปีโรงแรมในเดือนพฤศจิกายน 2536 แต่เกิดเหตุการณ์โรงแรมถล่มเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2536 ก่อน เหตุการณ์อาคาร “โรงแรมรอยัลพลาซ่าโคราชถล่ม” กลายเป็นข่าวดังช่วงนั้นอย่างมาก สำนักข่าวดังทั้งในและต่างประเทศมุ่งสู่เมืองโคราช เสนอข่าวนี้ตลอด 1 เดือนเต็ม เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้มีคนเสียชีวิตและติดอยู่ในซากตึกจำนวนมาก ซึ่งทำให้ข่าวโรงแรมรอยัลพลาซ่าถล่มถือได้ว่าเป็นข่าวดังไปทั่วโลก ซึ่งในวันที่ 13 สิงหาคมของทุกปีครอบครัวและญาติของผู้เสียชีวิต ได้รวมตัวกันทำบุญและอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้เคราะห์ร้ายเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการส่งวิญญาณผู้เสียชีวิตที่ล่วงลับให้ไปสู่สุคติ และเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้เคราะห์ร้ายจากเหตุการณ์โรงแรมรอยัลพลาซ่า กลางใจเมืองโคราชถล่ม และจนถึงวันนี้เหตุการณ์ “โรงแรมรอยัลพลาซ่า”ถล่ม เป็นโศกนาฏกรรม “ซากตึกฝังชีวิต” ที่ชาวโคราชมิอาจลืมเลือนได้ สื่อหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นโคราชเสนอข่าวอย่างต่อเนื่องจนปิดคดี สถานที่ตั้งอดีตโรงแรมรอยัลพลาซ่า ที่ถล่มเมื่อ 26 ปีที่ผ่านมา มีพื้นที่ติด 2 ฝั่งถนน ทั้งถนนจอมสุรางค์ยาตร และถนนโพธิ์กลาง ปัจจุบันที่ดินเป็นทรัพย์สินของกลุ่มศิลาปาร์ค เจ้าของโรงแรมดิไอยราโคราช
บุญใหญ่ ครอบครัวสุวรรณชาติ บริจาคที่ดินให้ รพ.มหาราช ที่ดินเนื้อที่ 237.4 ตารางวา พื้นที่ติดกับตลาดสุรนารี
ปีนี้เตรียมตัวโยก neon space Yappah Fest #4 เทศกาลดนตรีใหญ่กลางเมืองโคราช วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ที่ Mayfair Market