ณ บ้านกระเบื้องนอก หมู่ที่ 4 ตำบลกระเบื้องนอก อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา ได้มีการค้นพบแหล่งเครื่องปั้นดินเผา อายุราว 3 พันปี หลังจากก่อนหน้านี้ ได้มีการขุดพบเครื่องปั้นดินเผา ชนิดแจกันโบราณ ไหโบราณ กำไลข้อมือ และเครื่องปั้นดินเผาชนิดต่างๆ อีกมากมาย โดยได้ถูกนำไปเก็บรักษาไว้ ภายในสำนักศิลปากรที่ 10 จังหวัดนครราชสีมา ล่าสุด พบว่ายังคงมีเครื่องปั้นดินเผาจำนวนมากที่ยังไม่ได้ทำการขุดขึ้นมา โดยพบอยู่บริเวณพื้นที่ดินว่างเปล่า ติดกับบ้านนาย ณัฐพงษ์ ขวัญหมั่น อายุ 55 ปี บ้านเลขที่ 280 หมู่ที่ 4 ตำบลกระเบื้องนอก อำเภอเมืองยาง พื้นที่ ประมาณ 1 ไร่ มีเศษพบว่าเครื่องปั้นดินเผาถูกทับถมกันอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ยังรอการขุดค้น นายณัฐพงษ์ เปิดเผยว่า จากการขุดค้นของกรมศิลปากร ระบุว่า ในอดีตอำเภอเมืองยาง เคยเป็นแหล่งที่ตั้งถิ่นฐานชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เช่น ตามโคกเนิน จะปรากฏหลักฐานทางโบราณคดี เช่นการพบเครื่องปั้นดินเผาที่ขุดพบในใจกลางเมืองบ้านเมืองยาง และบ้านกระเบื้องนอก พบเศษกระเบื้องเครื่องปั้นดินเผาจำนวนมากในเขตชั้นดินลึกเพียงแค่ 1 เมตร ซึ่งตามรายงานการขุดค้นพบของกรมศิลปากร พบว่าเป็นหลักฐานในยุคหินเก่า อายุประมาณ 3,500 ปี ก่อนประวัติศาสตร์ และในยุคต่อมายังพบเศษซากกู่ปราสาทขนาดเล็กตามเนินเล็กๆ ที่บ้านเมืองยาง บ้านนางออ นอกจากนี้ที่ตั้งหมู่บ้านเมืองยาง บ้านเมืองเก่า ในปัจจุบันยังมีลักษณะเป็นคูน้ำวงล้อมรอบชุมชน ซึ่งแสดงให้เห็นร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่มาแต่อดีต ล่าสุด ทางสำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา เตรียมขุดค้นเครื่องปั้นดินเผาโบราณที่คาดว่ายังหลงเหลืออยู่ในพื้นที่ และเตรียมพัฒนาให้เป็นแหล่งศึกษาทางโบราณคดีต่อไป แหล่งข้อมูล : SpringNews
ลงพื้นที่มอเตอร์เวย์ M6 เตรียมความพร้อมเปิดใช้ “หินกอง – ปากช่อง” ด้านซ้ายทาง เป็นการชั่วคราว ช่วงสงกรานต์ 2568