มาต่อกับการสรุปผลรางวัล Oscars 2018 กันดีกว่า Best Achievement in Costume Design – Phantom Thread รางวัลการออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยมปีนี้ตกเป็นของ Phantom Thread หนังที่ว่าด้วยเรื่องขอดีไซน์เนอร์ตัดชุด ซึ่งถ้าจะบอกว่าหนังเกี่ยวกับนักทำเสื้อแล้วจะไม่ได้รางวัลเกี่ยวกับชุดแต่งกายก็คงจะไม่ถูกต้องซะเท่าไหร่ ฮ่าๆ แต่มันก็ยังมีคู่แข่งตัวฉกาจอยู่เหมือนกันที่ขับเคี่ยวลุ้นรางวัลกันมาอย่าง Beauty and the Beast ที่ทำอย่างกะดึงออกมาจากการ์ตูน สวยงามมาก แต่ด้วยความที่เป็นหนังเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องแต่งกายก็คงยอมกันไม่ได้ แล้วก็ชนะไปในที่สุด รางวัลนี้คือรางวัลเดียวของ Phantom Thread ที่คว้าไปได้ในคืนนั้น จากการเข้าชิง 6 สาขา Mark Bridges ผู้ชนะการวัลการออกแบบเครื่องแต่งกายจากเรื่องนี้เคยได้ออสการ์มาแล้วก่อนหน้านี้1ครั้งจากหนังเรื่อง The Artist ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำเวทีออสการ์เมื่อปี 2012 มีครั้งหนึ่งที่ Mark Bridges เคยเข้าชิงแต่ไม่ได้รางวัลคือปี 2015 จากเรื่อง Inherent Vice แต่ก็แพ้ให้กับความสวยงามของ The Grand Budapest Hotel Best Achievement in Sound Mixing & Sound Editing – Dunkirk นี่คือเราเอาสองสาขามารวมกันนะ เพราะผู้เข้าชิงเหมือนกันเป๊ะ และทั้งสองรางวัลยังมีผู้ชนะเป็นหนังเรื่องเดียวกันอีก ถ้าให้อธิบายง่ายๆว่ามันต่างกันอย่างไรของสองรางวัลนี้ก็คือ Sound Editing คือการสร้งเสียงขึ้นมา ส่วน Sound Mixing คือรางวัลที่เราเอาเสียงที่สร้างนั้นมาวางผสมเข้าด้วยกัน เพิ่มลด หนักเบา โดยส่วนใหญ่นั้นหนังที่จะได้สองรางวัลนี้จะเป็นหนังแอ็คชัน ยิงกันโครมครามเพราะมันจะมีเสียงเยอะแยะให้เล่น ทำให้ได้เปรียบในสาขานี้ และสองรางวัลนี้ผู้ชนะก็จะเป็นหนังเรื่องเดียวกันซธส่วนใหญ่ สองรางวัลนี้คือสองในสามของรางวัลที่ Dunkirk ได้ไปในคืนนั้น ส่วนอีกรางวัลหนึ่งคือรางวัลตัดต่อภาพยนตร์ยอดเยี่ยม โดยปีนี้ Dunkirk ได้รางวัลทางเทคนิคหลังการสร้างล้วนๆ Best Achievement in Visual Effects – Blade Runner 2049 รางวัลเอ็ฟเฟคยอดเยี่ยมปีนี้ถือว่าจะออกหน้าไหนก็ได้หมด สูสีมากๆ เพราะแต่ละเรื่องทำออกมาได้เด่นมาก และทำได้ดีในจุดแข็งของตัวเอง อย่าง War for the Planet of the Apes ที่พัฒนาขนลิงให้มันดูสมจริงมาขึ้นเรื่อยๆจากภาคแรกจนมาถึงตอนนี้ มันจริงๆสุดๆ Star Wars: Episode VIII – The Last Jedi ที่คงมาตรฐานความสวยงามและยังเพิ่มฉากของดาวใหม่ๆให้เราว้าวได้เรื่อยๆ หรือ Kong: Skull Island ที่ทำลิงยักและโลกของเกาะกระโหลกออกมาได้อย่างน่าตะลึงและสวยงามมากๆ แต่สุดท้ายก็เป็น Blade Runner 2049 ที่คว้ารางวัลไปได้ นี่คือหนึ่งในสองรางวัลที่ Blade Runner 2049 ได้ในคืนนั้น ส่วนอีกรางวัลคือ ถ่ายภาพยอดเยี่ยม Blade Runner ภาคก่อนของ Blade Runner 2049 ก็เคยเข้าชิงรางวัลออสการ์ในสาขานี้เหมือนกัน แต่ตอนนั้น Blade Runner ไม่ได้รางวัลเพราะว่าแพ้ให้กับ E.T. the Extra-Terrestrial Best Achievement in Makeup and Hairstyling – Darkest Hour รางวัลแต่งหน้าและทำผมยอดเยี่ยมจะเป็นสาขาพิเศษที่จะมีผู้เข้าชิงเพียง3รายเท่านั้น ถึงมีแค่3เรื่องก็ขับเคี่ยวกันอย่างสนุก เพราะที่เข้ามาชิงนั้นมีแต่เด็ดๆทั้งนั้น แด่ที่ดูอ่อนสุดในกลุ่มนี้ก็คงจะเป็น Victoria & Abdul เพราะคนไม่ค่อยผู้ถึงและดูนอกสายตาของกรรมการมาก คนจะเป็นเห็นอะไรที่เปลี่ยนแปลงชัดๆมากกว่าอย่าง Wonder ที่แต่หน้าน้องเป็นกลายเป็นเด็กที่ผ่านการศัลยกรรมตกแต่งใบหน้าเพื่อรักษาอาการปากแหว่งเพดานโหว่ หรือ Darkest Hour ที่แปลงโฉม Gary Oldman ให้กลายเป็น Winston Churchill จนเราแทบจำตัว Gary Oldman ไม่ได้เลย สามคนที่รับรางวัลของทีมแต่งหน้าเรื่องนี้ได้รางวัลออสการ์ครั้งแรกทั้งสามคน นี่คือหนึ่งในสองของรางวัลที่หนังเรื่องนี้ได้ จากการเข้าชิง6รางวัล Best Achievement in Music Written for Motion Pictures (Original Score) – The Shape of Water รางวัลนี้กับรางวัลเพลงยอดเยี่ยมคือคนละรางวัลกันนะอย่าสับสนกัน อันนี้คือรางวัลดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม มันคือเสียงดนตรีที่คลอๆประกอบฉากหนังของแต่ละฉากเพื่อให้เรามีอารมณ์ร่วมกับฉากนั้นๆมากยิ่งขึ้น ส่วนตัวเราคิดว่าในสาขานี้มีผู้ร่วมชิงชัยกันจริงๆประมาณ3เรื่องเท่านั้นคือ The Shape of Water,Dunkirk และ Star Wars: Episode VIII – The Last Jedi แต่ส่วนที่เราว่า The Shape of Water ได้รางวัลนี้ไปก็เพราะ อย่าง Dunkirk เราว่าดนตรีมันเด่นเกินตัวหนังไป เราแทบจะตื่นเต้นกับดนตรีมากกว่าตัวเรื่องซะอีก ส่วน Star Wars: Episode VIII – The Last Jedi เราว่ามันต่ำกว่ามาตรฐานของ Star Wars ภาคก่อนๆนิดหน่อย และที่สำคัญมันไม่ได้มีอะไรใหม่เลย Alexandre Desplat เจ้าของรางวัลนี้เคยเข้าชิงมาแล้วก่อนหน้านี้7ครั้ง และคว้าไปแล้ว1ครั้ง โดนครั้งนี้คือครั้งที่2 ในปี2015 เขาได้เข้าชิงรางวัลนี้จากหนังถึง2เรื่อง คือ The Imitation Game และ The Grand Budapest Hotel โดยเขาได้รางวัลออสการ์ครั้งแรกจากเรื่องหลังนี่แหละ Best Achievement in Production Design – The Shape of Water รางวัลของงานสร้างยอดเยี่ยม ปีนี้มีแต่หนังที่งานสร้างดีๆทั้งนั้นอย่าง Beauty and the Beast ที่เรียกได้ว่าถอดออกมาจากการ์ตูนเลย แทบจะเป๊ะทุกอย่าง Blade Runner 2049 ออกแบบมาได้อย่างทันสมัยแต่ก็ไม่ทิ้งบรรยากาศความมีสเน่ห์ของภาคแรกและทำได้แบบเทียบชั้นจนได้เข้าชิง หรือ Darkest Hour ที่สร้างบ้านเมืองของยุคสงครามโลกออกมาได้อย่างสมจริง สวยงาม แต่สุดท้ายบรรยากาศ บ้านเมืองยุค60 ของ The Shape of Water ก็ได้ไป เพราะด้วยความปราณีตและความสวยงามที่ไปลงแต่ละฉากทำให้คว้ารางวัลนี้ไปได้ Guillermo del Toro ผู้กำกับถึงกับลงทุนยอมวางมือจากหนังหุ่นยนต์อย่าง Pacific Rim ที่เรารักมาก มาลงทุนลงเวลากับหนังเรื่องนี้ เขาแทบจะมาเช็คองค์ประกอบทุกอย่างเอง ก็ไม่แปลกใจเลยที่งานของเรื่องนี้ปราณีตสวยงามได้ขนาดนี้ ทีมงานสร้างที่ได้รับรางวัลของหนังเรื่องนี้ได้รับรางวัลออสการ์จากหนังเรื่องนี้เป็นครั้งแรกทั้งสามคนเลย Best Foreign Language Film of the Year – A Fantastic Woman (Chile) Best Documentary Feature – Icarus Best Documentary Short Subject – Heaven is a Traffic Jam on the 405 Best Live Action Short Film – The Silent Child Best Animated Short Film – Dear Basketball (หนึ่งในผู้ที่ได้รับรางวัลคือ Kobe Bryant นักบาสเก็ตบอล และเขาคือนักกีฬาคนแรกที่คว้ารางวัลออสการ์ไปได้) สรุปรางวัล The Shape of Water – 4 รางวัล Dunkirk – 3 รางวัล Blade Runner 2049 – 2 รางวัล Coco – 2 รางวัล Darkest Hour – 2 รางวัล Three Billboards Outside Ebbing, Missouri – 2 รางวัล Call Me by Your Name – 1 รางวัล Get Out – 1 รางวัล I, Tonya – 1 รางวัล Phantom Thread – 1 รางวัล โดยส่วนตัวเราว่าการถ่ายทอดสดปีนี้ค่อยข้างจะน่าเบื่อมาก ไม่ค่อยมีอะไรตื่นเต้นที่ทำให้เราว้าวมากเท่าไหร่ ถ้าไม่ลุ้นกับแต่ละรางวัลก็แทบจะหลับได้เลยทีเดียว และการถ่ายทอดสดออสการ์ก็เรตติ้งตกมาแล้วอย่างต่อเนื่อง 4-5 ปีแล้ว ยังไงเราคนดูก็ได้แต่หวังว่าปีหน้ามันจะสนุกแล้วไม่น่าเบื่ออย่างหลายๆปีที่ผ่านมานี้ และสุดท้ายก็ขอยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลทุกรางวัลด้วยนะครับ รูปภาพจาก : https://www.facebook.com/TheAcademy/
บุญใหญ่ ครอบครัวสุวรรณชาติ บริจาคที่ดินให้ รพ.มหาราช ที่ดินเนื้อที่ 237.4 ตารางวา พื้นที่ติดกับตลาดสุรนารี
ปีนี้เตรียมตัวโยก neon space Yappah Fest #4 เทศกาลดนตรีใหญ่กลางเมืองโคราช วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ที่ Mayfair Market