นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การประชุมความร่วมมือรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนครั้งที่ 22 ได้มีการหารือวันที่เริ่มต้นการก่อสร้างตอนที่ 1 สถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร วงเงิน 425 ล้านบาท โดยกำหนดเป็นวันที่ 21 ธ.ค.60 ซึ่งต้องเรียนนายกรัฐมนตรีให้เป็นประธานการเริ่มโครงการ ส่วนตอนที่ 2 ปากช่อง-คลองขนานจิตร ระยะทาง 11 กิโลเมตร ตอนที่ 3 แก่งคอย-นคราชสีมา ระยะทาง 119.5 กิโลเมตร และตอนที่ 4 กรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 110 กิโลเมตร จะแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 14 สัญญา ซึ่งจัดลำดับตามความสำคัญโดยเริ่มจากกรุงเทพฯก่อน “หากสถานีไหนก่อสร้างเสร็จก็จะเปิดการเดินรถให้ทันเป็นช่วงๆ เช่น เริ่มออกแบบ ประมูล ก่อสร้างช่วงกรุงเทพฯ-อยุธยา และเปิดบริการก่อน เป็นต้น จากนั้นค่อยทยอยก่อสร้างสถานีต่อไป” นายอาคมกล่าว และว่า สัญญา 2.3 งานระบบรถไฟความเร็วสูง อาณัติสัญญาณตัวรถ การเดินรถและบำรุงรักษาเร่งให้ฝ่ายจีนหาข้อสรุปภายใน มี.ค.61 เพื่อให้ทันต่อการก่อสร้างและเปิดบริการ ส่วนการศึกษารถไฟความเร็วสูงจากนครราชสีมา-หนองคาย ใช้ผลการศึกษาความเหมาะสมที่ฝ่ายไทย ได้แก่ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และการรถไฟแห่ประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา หลังจากนั้นไทยก็จะออกแบบรายละเอียดการก่อสร้าง ซึ่งมีจีนเป็นที่ปรึกษาขณะนี้รอความเห็นผลการศึกษาของฝ่ายจีนคาดว่าเริ่มต้นได้ภายในปี 2561 นอกจากนี้ยังได้หารือการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งหลังจากการประชุมจีนจะส่งผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันรถไฟความเร็วสูงมาทำงานร่วมกับกระทรวงคมนาคม เพื่อทำแผนถ่ายทอดเทคโนโลยี ภายในเดือน ธ.ค.2560 แบ่งการถ่ายทอดออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.การศึกษาด้านเทคนิค ระดับปริญญา 2.ฝึกอบรมด้านเทคนิครถไฟความเร็วสูง แลกเปลี่ยนหลักสูตรการสอน 3.ฝึกการขับรถและซ่อมบำรุง รวมทั้งการเชื่อมต่อหนองคาย-เวียงจันทน์ ซึ่งไทย จีน และลาว จะต้องหารือร่วมกันเพื่อให้สามารถเชื่อมต่อได้ แหล่งข้อมูล : ประชาชาติธุรกิจ
บุญใหญ่ ครอบครัวสุวรรณชาติ บริจาคที่ดินให้ รพ.มหาราช ที่ดินเนื้อที่ 237.4 ตารางวา พื้นที่ติดกับตลาดสุรนารี
ปีนี้เตรียมตัวโยก neon space Yappah Fest #4 เทศกาลดนตรีใหญ่กลางเมืองโคราช วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ที่ Mayfair Market