เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ที่สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์กรมหาชน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) นครราชสีมา ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือและทีมนักวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์และบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน ได้นำดาวเทียมแนคแซท (KNACKSAT) ขนาดเล็กที่มีขนาด 10 x 10 x 10 เซนติเมตร และมีน้ำหนักไม่เกิน 1 กิโลกรัม ซึ่งออกแบบและสร้างด้วยฝีมือคนไทย มาทดสอบประสิทธิภาพดาวเทียมแนคแซค ดาวเทียมสัญชาติไทย ภายใต้สภาวะสุญญากาศ อุณหภูมิและความดันคล้ายอวกาศจริง ผลปรากฏเป็นที่น่าพอใจกับทีมนักวิจัย นายสุวัฒน์ กุลธนปรีดา หัวหน้าโครงการออกแบบและจัดส่งดาวเทียมขนาดเล็กเพื่อการศึกษา หรือ KNACKSAT ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เปิดเผยว่า ในกระบวนการส่งดาวเทียมขึ้นไปปฏิบัติภารกิจอวกาศนั้น ขั้นตอนสำคัญคือการทดสอบประสิทธิภาพของดาวเทียมในสภาวะอวกาศจริงหรือที่ที่อุณหภูมิและแรงดันต่างจากพื้นโลก คณะผู้วิจัยทราบสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสุญญากาศเป็นอย่างมาก จึงนำดาวเทียมแนคแซท เข้ามาทดสอบประสิทธิภาพการทนต่อสภาวะอวกาศจริงรวมถึงการเปลี่ยนแปลงมวลของดาวเทียมภายใต้อุณหภูมิและแรงดัน การทดสอบนี้ไม่ได้เน้นดูประสิทธิภาพของดาวเทียม แต่วิเคราะห์ถึงผลของดาวเทียม หากเกิดการเปลี่ยนแปลงมวล จะส่งผลกระทบต่อดาวเทียมดวงอื่นๆ หรือจรวดที่ทำการส่งดาวเทียมนี้ขึ้นไปหรือไม่ ผลการทดลองดำเนินการภายใต้มาตรฐานสากลที่กำหนดขึ้นสามารถนำไปใช้งานได้จริง ไม่พบปัญหาอุปสรรคแต่อย่างใด นายสุวัฒน์กล่าวว่า ดาวเทียมแนคแซท (KNACKSAT) ดาวเทียมเพื่อการศึกษาขนาดเล็ก ที่มีความสามารถไม่ต่างจากดาวเทียมขนาดใหญ่ มีภารกิจหลักคือการถ่ายภาพโลกจากอวกาศ ด้วยความละเอียด: 1–2 กิโลเมตรต่อพิกเซล โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุสมัครเล่นในการสื่อสารพร้อมจัดส่งเข้าสู่วงโคจรที่ความสูง 600 กิโลเมตร ในช่วงเดือนสิงหาคม 2561 ซึ่งความสำเร็จนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและเทคโนโลยีสุญญากาศของไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล นาวาอากาศโทสราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กล่าวว่า การเดินเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน ต้องใช้ระบบสุญญากาศ ประสบการณ์กว่า 10 ปี ของงานเทคโนโลยีสุญญากาศ ส่งผลให้มีบุคลากรที่มีองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ภาครัฐและภาคเอกชน ซินโครตรอนมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในการทดสอบประสิทธิภาพของดาวเทียมแนคแซท ดาวเทียมที่เรียกได้อย่างเต็มภาคภูมิว่า ดาวเทียมฝีมือคนไทย 100% ออกแบบและสร้างในประเทศไทย อีกทั้งการทดสอบระบบต่างๆ ก่อนส่งขึ้นสู่วงโคจร ต่างก็ดำเนินงานด้วยคนไทยอีกด้วย แหล่งข้อมูล : มติชนออนไลน์
บุญใหญ่ ครอบครัวสุวรรณชาติ บริจาคที่ดินให้ รพ.มหาราช ที่ดินเนื้อที่ 237.4 ตารางวา พื้นที่ติดกับตลาดสุรนารี
ปีนี้เตรียมตัวโยก neon space Yappah Fest #4 เทศกาลดนตรีใหญ่กลางเมืองโคราช วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ที่ Mayfair Market