เป็นประเด็นร้อนแรงในวงการก่อสร้างไทย หลังจากเมื่อวันที่ 2 ก.พ. ไกร ตั้งสง่า กรรมการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ส่งจดหมายเปิดผนึกมีข้อความถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ขอคัดค้านค่าออกแบบโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนสูงเกินความเป็นจริงถึง 1 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ เนื่องจากโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ที่รัฐบาลจะมอบหมายให้จีนเป็นผู้ดำเนินการออกแบบและโดยการใช้มาตรา 44 ในการยกเว้นใบอนุญาตนิติบุคคล ซึ่งบริษัทวิศวกรสถาปนิกที่ปรึกษาจีนจะไม่ถูกบังคับใช้ตาม พ.ร.บ.สถาปนิก พ.ร.บ.วิศวกร ทำให้บริษัทจีนสามารถออกแบบได้เลย โดยมีเอกสิทธิ์คุ้มครองจากมาตรา 44 เริ่มจากการใช้มาตรา 44 เป็นการก้าวล่วงการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมวิศวกรรมควบคุมตาม พ.ร.บ.สถาปนิก พ.ศ. 2543 พ.ร.บ.วิศวกร พ.ศ. 2542 ที่นิติบุคคลและบุคคลที่มาประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมวิศวกรรมควบคุมต้องมีใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพ สถาปัตยกรรมควบคุมวิศวกรรมควบคุม การประกอบวิชาชีพวิศวกรรมโยธาถือเป็นอาชีพสงวนไว้สำหรับคนไทยตาม พ.ร.บ.ที่กำหนดไว้เกี่ยวข้องกับงานออกแบบและคำนวณ จัดระบบวิจัย วางโครงการ ทดสอบ ควบคุมการก่อสร้าง หรือให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษาเช่นเดียวกับการประกอบวิชาชีพสถาปนิก เป็นอาชีพสงวนสำหรับคนไทยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ เขียนแบบ ประมาณราคา หรือให้คำแนะนำเป็นที่ปรึกษา กระทรวงคมนาคมโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ในฐานะเจ้าของงานจำเป็นต้องออก ข้อกำหนด เพื่อให้เจ้าของงานสามารถกำหนดมาตรฐานในการออกแบบ รวมทั้งวัสดุในการก่อสร้างให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล มิใช่ให้วิศวกรที่ปรึกษาจีนเป็นคนออก Specifications เสียเอง งานออกแบบอาคารสถาปัตยกรรม เช่น สถานีรถไฟ ซึ่งเกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่นต้องให้สถาปนิกไทยเป็นผู้ออกแบบเท่านั้น ค่าบริการวิชาชีพ งานออกแบบ 1 หมื่นล้านบาท ที่บริษัทที่ปรึกษาจีนรับไปดำเนินการออกแบบ ซึ่งเป็นราคาที่สูงมากและงานออกแบบมากกว่า 90% เป็นงานที่วิศวกรสถาปนิกไทยทำได้ สำหรับการประกันผลงานและการรับรองคุณภาพในการออกแบบเป็นสิ่งที่ยาก สำหรับวิศวกรสถาปนิกที่ปรึกษาจีนจะพึงกระทำได้ และรัฐบาลไทยกำลังรับความเสี่ยงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนคนไทย แทนที่จะเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายจีน ขณะที่เงินในการลงทุนเป็นเงินจากรัฐบาลไทย ผู้เป็นเจ้าของโครงการนี้เป็นเงินจากภาษีอากรของคนไทย ผู้เป็นเจ้าของประเทศ สังวรณ์ ลิปตพัลลภ นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า การออกแบบรถไฟฟ้าในเฟสแรกกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ราคาค่าออกแบบในช่วงดังกล่าวไม่ควรเกินหลัก 1,000 ล้านบาท มากกว่านั้นถือว่าสูงเกินไปในการพัฒนาโครงการนี้ ขณะที่การประมูลงานภาครัฐปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมีพัฒนาการที่ดีขึ้นกว่าช่วงก่อน เพราะต้องใช้กระบวนการประมูลผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-บิดดิ้ง ทำให้ลดการฮั้วประมูลได้ เพราะต่างคนต่างไม่รู้ว่ามีใครเข้าร่วมประมูลบ้างและมีการเสนอราคาอย่างไร แตกต่างจากช่วงหลายปีก่อนที่จะมีการประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมประมูลรวมทั้งรายชื่อผู้ขายวัสดุ ทำให้สามารถไปพูดคุยตกลงราคากันก่อนที่จะมีการเสนอราคาจริงได้ อย่างไรก็ดี อี-บิดดิ้งยังมีช่องว่างในกรณีที่คนกลาง อาจจะไปลงทะเบียนเพื่อเป็นผู้ขายวัสดุ ซึ่งทำให้ในบางกรณีอาจจะมีการฮั้วกันเกิดขึ้นระหว่างผู้ประมูลและคนกลางได้ ดังนั้น จึงมีความเห็นว่าการประมูลไม่ควรมีการล็อกสเปก เพราะบางครั้งการล็อกสเปกเป็นการทำให้ผู้เสนอราคาบางเจ้าเท่านั้นที่เข้าถึงการประมูลได้ แหล่งข้อมูล : โพสต์ทูเดย์
บุญใหญ่ ครอบครัวสุวรรณชาติ บริจาคที่ดินให้ รพ.มหาราช ที่ดินเนื้อที่ 237.4 ตารางวา พื้นที่ติดกับตลาดสุรนารี
ปีนี้เตรียมตัวโยก neon space Yappah Fest #4 เทศกาลดนตรีใหญ่กลางเมืองโคราช วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ที่ Mayfair Market