วันที่ 31 มกราคม 2561 เวลา 10.00 น.ที่ห้องประชุม พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินจังหวัดนครราชสีมา นายสุเมธ อำภร ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย ผศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการสำนักงานธรณีโคราชจังหวัดนครราชสีมาได้ร่วมกันให้ข้อมูลการดำเนินงาน และ แผนการประชาสัมพันธ์ โดยมีคณะสื่อมวลชน ท้องถิ่นคณะหนึ่งเข้าร่วมรับฟัง เพื่อเข้าร่วมทำงานประชาสัมพันธ์ การดำเนินงานเกี่ยวกับการนำอุทธยานธรณีระดับจังหวัด ผลักดันเข้าสู่ระดับประเทศ และระดับโลก เพื่อสร้างการรับรู้ในหมู่ประชาชนชาวโคราช ก่อนได้รับการประเมินในระดับทั้งนานาชาติต่อไป ผศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสำคัญของพื้นที่อุทยานธรณีโคราช ส่วนหนึ่ง คือ เขารูปทรง Khorat Cuesta เป็นลักษณะเด่นทางธรณีสัณฐาน มีการค้นพบฟอสซิลช้างดึกดำบรรพ์ 10 สกุล จาก 55 สกุล ถือว่ามากที่สุดในโลก แหล่งหินที่มีเรื่องราวแหล่งที่ อ.สีคิ้ว อ.สูงเนิน ที่นำไปสร้างวิหารรวมทั้งการสร้างปราสาทในพื้นที่ต่างๆ เช่น ปราสาทหินพิมาย ป่าเต็งรัง รวมถึงวัฒนธรรมริมลำน้ำลำตะคองตลอดเส้นทาง อันเป็นแผนงานไปสู่การสร้าง จีโอพาร์ค ในจังหวัดนครราชสีมา จีโอพาร์ค หรือ geopark ให้ความสำคัญกับ “คน” อันเป็นการส่งเสริมให้คนที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดิน ที่มีมรดกทางธรณีที่สำคัญ ทางวิชาการในระดับนานาชาติ มีธรรมชาติ วัฒนธรรม วิถีชีวิต พืชพรรณ สัตว์ป่า และเรื่องราวอื่นๆ ที่มีความสำคัญ ที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกแก่คนรุ่นหลัง นอกจากนั้นยังเปิดโอกาสให้ นักเรียน นักศึกษาได้มาเรียนรู้ สร้างความตระหนักให้เกิดการหวงแหน รักษาให้คงสภาพ และพร้อมให้ผู้สนใจมาศึกษาเรียนรู้ได้ ผ่านกิจกรรมเชิงท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ เรียกว่า geotourism “หลักการสำคัญ คือ “การมีส่วนร่วมของชุมชน ชาวบ้าน ทุกระดับมีส่วนร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินกิจกรรมในพื้นที่นั้น” ภายใต้ระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมาย หรือวิถีปฏิบัติที่มีอยู่แล้ว ภายใต้กฎหมายเดิม เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีรายได้จากการร่วมจัดการ อาทิ การขายสินค้าเกษตรให้แก่นักท่องเที่ยว การให้บริการเรือพาย การนำเที่ยว การแบ่งบ้านให้เช่าแบบโฮมสเตย์ การสอนทำอาหารท้องถิ่น ร้านอาหารท้องถิ่น ของฝากจากผลิตภัณฑ์ชุมชน งานหัตถกรรมชุมชน ซึ้งเน้นการนำวัตถุดิบท้องถิ่นมาบริการหรือจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว”ผศ.ดร.ประเทืองกล่าว ด้านนายสุเมธ อำภร กล่าวว่า คณะสื่อมวลชนคณะนี้เป็นชุดแรกที่ได้เข้าร่วมรับทราบการดำเนินงานและก็คงจะมีคณะต่อไป โดยในวันนี้มีข้อสอบถาม คณะกรรมการ/คณะทำงานอุทยานธรณีโคราช มีแผนอย่างไรในการทำความเข้าใจกับชุมชนและประชาชนในพื้นที่ ซึ่งได้มีการให้ข้อมูลถึงแผนการดำเนินงาน ตั้งแต่การแต่งตั้งคณะทำงานด้านการประชาสัมพันธ์ของจังหวัด ซึ่งจะดำเนินการจัดทำ CD กระจายเสียงไปยังหมู่บ้าน ชุมชน ทุกแห่งในจังหวัด จัดทำสื่อวีดิทัศน์ให้โรงเรียน จัดตั้งโรงเรียนจีโอพาร์ค โดยมีต้นแบบที่โรงเรียนในพื้นที่จีโอพาร์ค 5 อำเภอ และโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จัดทำหลักสูตรสำหรับ ชั้นประถม/มัธยมศึกษา จัดทำสื่อออนไลน์ต่างๆ และการประกาศเป็นวาระจังหวัด โดยคณะสื่อมวลชน ได้เสนอแนะควรมีหลักสูตรจีโอพาร์คระดับมหาวิทยาลัยด้วย และการประชาสัมพันธ์ น่าจะมี sticker line รูปช้างดึกดำบรรพ์ สายพันธุ์ต่างๆ ออกจำหน่าย เพื่อเผยแพร่ ซึ่งจะมีการประชุมในคณะทำงานด้านการประชาสัมพันธ์อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ได้มีการจัดทำร่างแผนการประชาสัมพันธ์ไว้ในเบื้องต้นแล้ว โดยคณะสื่อมวลชนยินดีให้ความร่วมมือและจะช่วยในการผลักดันให้อุทยานธรณีโคราชสู่อุทยานธรณีโลกต่อไป แหล่งข้อมูล : นายมานะ แย้มจะบก ผู้สื่อข่าวภูมิภาค สำนักข่าวทีนิวส์ จังหวัดนครราชสีมา ภาพประกอบ : มติชนออนไลน์ (2560) และ สำนักข่าวทีนิวส์
บุญใหญ่ ครอบครัวสุวรรณชาติ บริจาคที่ดินให้ รพ.มหาราช ที่ดินเนื้อที่ 237.4 ตารางวา พื้นที่ติดกับตลาดสุรนารี
ปีนี้เตรียมตัวโยก neon space Yappah Fest #4 เทศกาลดนตรีใหญ่กลางเมืองโคราช วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ที่ Mayfair Market