ในต่างประเทศเฉกเช่นใน 10 เมืองตัวอย่างที่เราจะหยิบยกมาให้ชมกันนั้นในที่นี้ มีผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตั้งแต่ระดับบนสุด จนถึงฝ่ายปฏิบัติการ และประชาชนที่ได้รับผลประโยชน์โดยตรงให้ความสนใจเรื่องการสร้างบ้านแปงเมือง ระบบขนส่งมวลชนรถรางเบากันอย่างแพร่หลาย รวมทั้งสื่อสารมวลชนก็นำเสนอองค์ความรู้เรื่องการวางผัง ออกแบบเมือง ควบคู่กับระบบขนส่งมวลชน เพื่อประโยชน์สูงสุดกับท้องถิ่น เพราะทางอเมริกา ได้เห็นตัวอย่างในซีกยุโรปแล้วว่าเขายังคงพัฒนารถรางเบา (TRAM) อย่างต่อเนื่องเป็นร้อยปีแล้ว และได้ผลลัพธ์อย่างที่เห็นคือในยุโรปส่วนใหญ่จะเป็นเมืองที่น่าอยู่ ปัญหาจราจรก็น้อย ไม่มีมลภาวะ จวบจนปัจจุบันในโลกนี้มีเมืองที่ให้บริการ TRAM รถรางเบา (Streetcar) ประมาณ 300 เมือง 400 กว่าเส้นทางแล้ว และในอนาคตมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามโครงการที่หลายเมืองได้เปิดตัวกัน ในขณะที่บ้านเราเท่าที่เห็นก็มี ขอนแก่น ภูเก็ต เชียงใหม่ เป็นธงนำที่จะ “ใช้รางเปลี่ยนเมือง” หลายคนก็เฝ้าติดตามโดยหวังว่าจะไม่ช้าเกินการณ์ หรือมีขั้นตอนที่มากจนเกินไป เพราะเชื่อแน่ว่าประสบการณ์ของเมืองหนึ่งที่เริ่มทำ จะเป็นประสบการณ์ของเมืองอื่นๆ เช่นกัน เครดิต Khon Kaen Think Tank : KKTT ปรากฎการณ์การเติบโตของระบบขนคนบนผิวถนนในช่วง 2 ทศวรรษ 10 เมืองในสหรัฐ ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า Streetcar (TRAM) คือคำตอบที่ดีที่สุดในการจัดการระบบการเดินทางของคนในพื้นที่เขตชั้นใน อ้างอิงจากบทความ Smart Growth Thailand ของ อ.ฐาปนา บุณยประวิตร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาด อุปนายกสมาคมการผังเมืองไทยความว่า รายงานผลการศึกษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจบริเวณสองข้างทางรถไฟฟ้ารางเบา http://oknation.nationtv.tv/blog/smartgrowththailand/2015/01/08/entry-1 Smart Growth Thailand ต้องการแสดงให้เห็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการวางผังเมืองตามแนวทางการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) ซึ่งใช้รถไฟฟ้ารางเบา Streetcar (Tram)”เป็นหัวหอก” ในการเปลี่ยนแปลงกายภาพพื้นที่และเป็นเครื่องกระตุ้นทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นการตอบหลายๆ คำถาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำถามถึงประสิทธิภาพที่แท้จริงของการเติบโตอย่างชาญฉลาดในการพัฒนาทั้งในระดับมหภาคและระดับจุลภาคและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ได้จากรถไฟฟ้ารางเบา Streetcar ประเด็นที่ใช้ศึกษาโครงการรถไฟฟ้ารางเบา Streetcar ผลการวิจัยเชิงลึกเรื่อง Streetcar: Land Use Study (Phase One) โดย District of Columbia office of Planning ด้วยความร่วมมือของ Smart Growth Network, US. Environmental Protection Agency และ National Building Museumได้ชี้ชัดถึงประโยชน์ที่ได้รับในด้านการพัฒนาเมือง เศรษฐกิจและการพัฒนาคุณภาพชีวิตซึ่งจำแนกได้เป็น 4 ด้าน ดังนี้ ผลประโยชน์ทางตรงจากการใช้ streetcarแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ประกอบด้วย 1.1 คุณภาพชีวิตประชาชน 1.2 ผลประโยชน์ต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 1.3 การเติบโตทางเศรษฐกิจและการเพิ่มพูนรายได้ด้านภาษี ความท้าทายในเชิงระบบเมืองที่นำไปสู่แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ การที่รัฐกล้าตัดสินใจเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานการเดินทางของประชาชนจากการพึ่งพิงเฉพาะรถยนต์ส่วนบุคคลแต่เพียงอย่างเดียว มาเป็นการพึ่งพิงระบบบริการสาธารณะ ซึ่งการตัดสินใจในครั้งนี้ถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับทิศทางการพัฒนาเมืองและความสามารถในการตัดสินใจพร้อมโลกทัศน์ของผู้บริหาร กระบวนการวิเคราะห์และแนวทางการพัฒนาย่านและพื้นที่สองข้างทางให้ดำเนินไปสู่เป้าหมาย 3.1 ผลประโยชน์ที่ได้รับและความท้าทายจากการพัฒนาของแต่ละย่าน 3.2 การคัดสรรค์ทางเลือกที่มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การเลือกใช้กลยุทธ์และเครื่องมือที่เหมาะสมต่อการปรับปรุงการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เกิดมูลค่าสูงสุด วงการผังเมืองในต่างประเทศต่างยอมรับว่า Streetcar มีศักยภาพระดับสูงในการกระชับกายภาพเมือง ช่วยเชื่อมต่อพื้นที่ย่านต่างๆ ให้ต่อเนื่องกัน และเชื่อมต่อไปยังศูนย์รวมของระบบการคมนาคมขนส่งหลัก ดังตัวอย่างเมืองซีแอตเติลStreetcar ได้กระตุ้นให้เกิดศูนย์นวัตกรรมทางเทคโนโลยีในพื้นที่ใจกลางเมือง ส่วนเมืองพอร์ตแลนด์ ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่สองข้างทางประมาณ ¼ ไมล์นับจากแนวรางของ streetcar ได้เกิดการลงทุนที่อยู่อาศัย ย่านพาณิชยกรรม การค้าปลีก มีมูลค่ามากกว่า 3.5 พันล้านเหรียญ ไม่นับรวมการเพิ่มขึ้นของภาษีที่รัฐจัดเก็บได้เพิ่มขึ้น สำหรับนครซานฟรานซิสโก การศึกษาพบว่ามีการขยายตัวของตลาดค้าปลีกตลอดเส้นทางรถไฟฟ้า Streetcar นอกจากประเด็นทางยุทธศาสตร์ดังที่กล่าวแล้ว หากนำข้อเด่นของ streetcar เปรียบเทียบกับระบบขนส่งมวลชนประเภทอื่นๆ จะพบข้อมูลที่น่าสนใจ สรุปได้ดังนี้ รถบัสขนส่งมวลชน (Bus Rapid Transit-BRT) แม้จะมีต้นทุนการก่อสร้างต่ำ สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว แต่ไม่มีผลกระทบเชิงบวกต่อการลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รถไฟฟ้า Community Rail และ Light Rail Transit มีต้นทุนค่าก่อสร้างสูงกว่า Streetcar 5-6 เท่า มีผลกระทบเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ Streetcar ใช้งบลงทุนระบบรางน้อย มีศักยภาพระดับสูงในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการพัฒนาพื้นที่ ทำให้มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจากเดิม 6 ถึง 10 เท่า สำหรับผลประโยชน์ทางตรงที่ได้รับจาก streetcar แบ่งออกได้ดังนี้ การยกระดับความสามารถในการเข้าถึงสถานที่สำคัญในย่านพาณิชยกรรม สถานที่พิเศษ สถานที่ราชการ และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ หรือแม้แต่ในพื้นที่บริเวณที่อยู่อาศัยผสมผสานพาณิชยกรรม คุณภาพชีวิตของประชาชน ด้วยการลดมลภาวะฝุ่นควัน และสภาพแวดล้อมที่ดีบริเวณสองข้างทางและในพื้นที่รอบสถานีขนส่งรถไฟฟ้า ความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งงาน ความสามารถในการเชื่อมต่อระหว่างย่านที่พักอาศัยกับสถานที่ทำงานได้ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการสร้างงานและสร้างรายได้แก่ประชาชน ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนโดยทั่วไปจะทำให้ค่าใช้จ่ายของผู้เดินทางลดลงมากกว่าร้อยละ 50 เทียบจากการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล ส่งเสริมกายภาพให้เกิดการเดิน ผู้เดินทางด้วย Streetcar ถูกกายภาพบังคับให้เดินจากสถานีไปยังสถานที่ทำงานหรือสถานที่เป้าหมาย ดังเช่น แนวปฏิบัติของนครนิวยอร์คซึ่งมีเป้าหมายให้ประชาชนมากกว่าร้อยละ 30 ใช้บริการขนส่งมวลชน ซึ่งเป็นการเพิ่มกิจกรรมทางกาย (Physical Activity) ให้เป็นกิจวัตรของประชาชนซึ่งถือเป็นการส่งเสริมสุขภาพในทางตรง กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่สองข้างเส้นทาง (Streetcar Corridors) Streetcar ผสมผสานลักษณะของรถรางชมเมืองและรถรางเพื่อการสัญจรเข้าไว้ด้วยกัน ผลการศึกษาได้ชี้ให้เห็นว่า การที่ผู้เดินทางได้สัมผัสทางสายตากับร้านรวงและกิจกรรมพาณิชยกรรมสองข้างทาง จะทำให้เกิดการจดจำเครื่องหมายการค้า ตำแหน่งที่ตั้ง ซึ่งได้ก่อให้เกิดโอกาสทางเศรษฐกิจต่อทั้งผู้เดินทางและร้านค้าในย่านนั้นๆ เพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงโรงเรียน การเติบโตอย่างชาญฉลาดให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการเพิ่มความปลอดภัยแก่นักเรียน การสัญจรด้วย Streetcar มีส่วนช่วยให้การเดินทางของนักเรียนมีความปลอดภัย ประหยัด และส่งเสริมให้เกิดสังคมแห่งการเป็นมิตร เพิ่มศักยภาพในการสงวนรักษาแหล่งประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม Streetcar เป็นยวดยานเพียงไม่กี่ประเภทที่ได้รับอนุญาตให้วิ่งผ่านเข้าไปในย่านอาคารสำคัญทางประวัติศาสตร์หรือชุมชนประวัติศาสตร์ โดยไม่ทำให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและทัศนอุจาด ขยายทางเลือกให้กับธุรกิจการพัฒนาที่อยู่อาศัย การศึกษาพบว่าตลอดแนวสองข้างทาง Streetcar โดยเฉพาะพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน จะเป็นพื้นที่ทำเลทองของการพัฒนาที่อยู่อาศัยแนวตั้ง การเพิ่มมูลค่าของทรัพย์สิน การศึกษาพบว่าตลอดแนวสองข้างทางและรอบสถานีขนส่งมวลชน ราคาของที่ดินและมูลค่าของทรัพย์สินจะสูงกว่าพื้นที่บริเวณอื่นๆ ของเมือง ผลการศึกษาของ District of Columbia office of Planningได้ชี้ชัดถึงผลประโยชน์ทุกด้านที่ประชาชนได้รับจากความเปลี่ยนแปลงกายภาพเมืองที่เกิดจากการใช้การเติบโตอย่างชาญฉลาดและจากการลงทุนระบบการขนส่งมวลชนรางเบา streetcar ผลการวิจัยชิ้นนี้น่าจะเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่จะทำให้เกิคความเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารเมิองและผู้บริหารประเทศให้มองเห็นแนวทางการพัฒนาเมืองที่ถูกต้อง รู้จักการนำนวัตกรรมผังเมืองประยุกต์ใช้สำหรับการยกระดับทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งจะก่อให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว ** หมายเหตุ : ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด วันที่ 8 มกราคม 2558 ลิ้งก์บทความที่เกี่ยวข้องกับ รถรางไฟฟ้า Tram (Streetcar) เกือบ 300 เมืองทั่วโลก ร่วม 400 เส้นทาง ใช้ Tram เป็นระบบขนส่งมวลชนหลัก http://www.oknation.net/blog/thaitourismsociety/2015/06/11/entry-1 แหล่งข้อมูล : smartgrowththailand
บุญใหญ่ ครอบครัวสุวรรณชาติ บริจาคที่ดินให้ รพ.มหาราช ที่ดินเนื้อที่ 237.4 ตารางวา พื้นที่ติดกับตลาดสุรนารี
ปีนี้เตรียมตัวโยก neon space Yappah Fest #4 เทศกาลดนตรีใหญ่กลางเมืองโคราช วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ที่ Mayfair Market
เตรียมเที่ยวงานยักษ์ “เทศกาลเที่ยวพิมาย PHIMAI FESTIVAL 2024” วันที่ 6-10 พฤศจิกายน 2567 จัด 5 วัน 5 คืน
เริ่มแล้ว มหกรรมการเงินยิ่งใหญ่สุดในอีสาน โปรแรงดีที่สุดแห่งปี MoneyExpo2024Korat วันนี้ – 11 ส.ค. 67 เดอะมอลล์โคราช