วันลอยกระทงปีนี้หากใครอยากลองเปลี่ยนบรรยากาศมาชื่นชมความงามของดวงจันทร์เต็มดวงบ้างแล้วล่ะก็ ปีนี้ถือเป็นปีที่เหมาะมากเลยทีเดียว เพราะในคืนวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 นี้ เราจะได้พบปรากฏการณ์ “ดวงจันทร์เต็มดวงจะปรากฏในตำแหน่งใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี” หรือที่มักเรียกกันว่า Super Full Moon นั่นเอง โคราชพร้อมตั้งกล้องโทรทรรศน์ส่องดวงจันทร์แบบเต็มตาเวลา 17.00 – 22.00 น. ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา โทร. 044-216254

 

559000011478103

 

โดยความพิเศษของ Super Full Moon ในปีนี้ คือ เป็นปรากฏดวงจันทร์เต็มดวงจะปรากฏในตำแหน่งใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 68 ปี ที่ระยะห่าง 356,511 กิโลเมตร ซึ่งในคืนดังกล่าวดวงจันทร์จะมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติ 14% และจะมีความสว่างมากกว่าปกติ ประมาณ 30% สามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ ทางทิศตะวันออกทั่วประเทศ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาดวงจันทร์เต็มดวงเคยเข้าใกล้โลกมากที่สุดเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2491 แต่หากพลาดโอกาสในคืนดังกล่าว ต้องรออีก 2 ปี จึงเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกมากที่สุดในรอบปีอีกครั้ง

 

559000011478105
ภาพถ่ายดวงจันทร์เต็มดวงในคืนวันดวงจันทร์ใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี วันที่ 28 กันยายน 2558 (ภาพโดย : ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ / Camera : Canon 1DX / Lens : Lunt Telescope 560mm. + Teleconverter 1.5X / Focal length : 840 mm. / Aperture : f/11 / ISO : 1000 / Exposure : 1/20sec)

 

เทคนิกการถ่ายภาพ Moon Illusion ในสวยปัง!

ในโอกาสดีๆ หลายคนอาจอยากจะถ่ายเก็บไว้เป็นที่ระลึก แต่ถ่ายยังไงก็ไม่สามารถถ่ายถอดความงามและยิ่งใหญ่ของดวงจันทร์ได้อย่างเต็มที่เหมือนที่ตาเห็นหรือเซิร์ทเจอในอินเทอร์เน็ตเลย แต่หากลองสังเกตดีๆ แล้วจะพบว่าภาพที่เราเห็นดวงจันทร์มีขนาดใหญ่นั้นมักจะอยู่บริเวณขอบฟ้ามากกว่ากลางท้องฟ้า ซึ่งแท้ริงแล้วภาพดวงจันทร์บริเวณใกล้ขอบฟ้าที่มองดูมีขนาดปรากฏใหญ่กว่านั้น เป็นเพียงภาพลวงตา เนื่องจากบริเวณขอบฟ้ามีวัตถุให้เปรียบเทียบขนาด แต่ดวงจันทร์บริเวณกลางท้องฟ้าไม่มีวัตถุเปรียบเทียบขนาดจึงทำให้ความรู้สึกในการมองดูเล็กกว่านั่นเอง หรือเรียกภาพดวงจันทร์บริเวณใกล้ขอบฟ้าที่มองดูมีขนาดกฎใหญ่ นั่นว่า “Moon Illusion”

 

559000011478101
ตัวอย่างการถ่ายภาพ Moon Illusion โดยใช้คนเป็นสิ่งเปรียบเทียบขนาด

 

เทคนิคและวิธีการถ่ายภาพ Moon Illusionนั้น ก็คือการถ่ายภาพดวงจันทร์ในบริเวณที่อยู่ใกล้กับขอบฟ้า หรือใกล้กับวัตถุ ไม่ว่าจะเป็น ต้นไม้ คน อาคาร หรือสิ่งก่อสร้างต่างๆ ซึ่งคุณศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้ให้คำแนะนำหลักการการถ่ายภาพโดยมีหลักการง่ายๆ ดังนี้

 

559000011478106
ตัวอย่างภาพถ่าย Moon Illusion ในช่วงปรากฏการณ์ Super Full Moon

 

1. หาสถานที่ : ที่มองเห็นดวงจันทร์ได้ทางทิศตะวันออกตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ โดยสถานที่ดังกล่าว ควรมองเห็นวัตถุ เช่น คน เจดีย์ บ้าน ที่จะใช้ในการถ่ายภาพเปรียบเทียบกับขนาดของดวงจันทร์ ซึ่งปกติผมจะอยู่ห่างจากวัตถุที่ใช้เปรียบเทียบตั้งแต่ 1 กิโลเมตร ขึ้นไป หรือใช้การวัดระยะเชิงมุมด้วยนิ้วก้อย เพื่อเทียบขนาดวัตถุกับดวงจันทร์ได้ (ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง) โดยดวงจันทร์จะมีขนาดกฎเพียง 0.5 องศา หรือมีขนาดใหญ่ไม่เกิน 1 นิ้วก้อยของเราเมื่อเหยียดสุดแขน

 

559000011478107
การวัดระยะเชิงมุมด้วยนิ้วก้อย โดยการเหยียดจนสุดแขน จะมีค่าระยะห่างเชิงมุมเท่ากับ 1 องศา

 

2. เลือกใช้เลนส์เทเลโฟกัส : เพื่อให้ได้ภาพดวงจันทร์มีขนาดใหญ่ เมื่อถ่ายภาพเทียบกับขนาดของวัตถุบริเวณขอบฟ้า ก็จะทำให้ภาพถ่าย Moon Illusion ของเราดูใหญ่แน่นมากขึ้น โดยเลือกช่วงเลนส์ตั้งแต่ 300 mm. ขึ้นไป

 

559000011478109
ตัวอย่างเลนส์ Telephoto แบบกระจก Mirror Lens หรือ Reflex Lens ของ Samyang 500mm. ซึ่งมีราคาไม่สูงมากนักประมาณ 6,000 – 7,000 บาท เท่านั้น

      

3. ใช้ความเร็วชัตเตอร์สัมพันธ์กับช่วงเลนส์ : คือการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ไม่ช้าจนเกินไปจนทำให้ภาพดวงจันทร์เบลอ เนื่องจากดวงจันทร์จะเคลื่อนที่ขึ้นทางทิศตะวันออกสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยยิ่งใช้ทางยาวโฟกัสสูงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ขึ้นตามด้วยเช่นกัน

 

559000011478108
ภาพถ่าย Moon Illusion โดยการถ่ายดวงจันทร์เปรียบเทียบกับวัดพระธาตุดอยสุเทพ (ภาพโดย : ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ / Camera : Canon 7D / Lens : Astrotech 5 Inch / Focal length : 1,200 mm. / Aperture : f/8 / ISO : 800 / Exposure : 1/800s)

       

4. การปรับโฟกัสวัตถุที่เป็นฉากหน้า : ไว้รอก่อนที่ดวงจันทร์จะโผล่จากขอบฟ้า เพราะในการโฟกัสภาพที่ระยะไกลบริเวณขอบฟ้าที่มีมวลอากาศหนาแน่น การโฟกัสจะเกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หากเรารอเพื่อให้ดวงจันทร์โผล่ขึ้นมาก่อน แล้วค่อยโฟกัสที่ดวงจันทร์ เราอาจพลาดจังหวะดีๆ ในการถ่ายภาพเทียบกับวัตถุบริเวณขอบฟ้าได้ง่ายๆ

 

559000011478110

 

5. Black Card Technique : โดยการใช้มือบังบริเวณหน้าเลนส์ตรงส่วนขอบภาพ ตรงตำแหน่งของดวงจันทร์เพื่อให้แสงสว่างของดวงจันทร์ลดลง แล้วจึงถ่ายภาพ ก็จะช่วยให้เราได้ภาพถ่ายที่มีความเปรียบต่างกันไม่มากนัก และนำไปปรับแต่งในโปรแกรม Photoshop โดยการดึง Shadow บริเวณฉากหน้า และลดแสง Highlight ลงได้ง่ายขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อฟิลเตอร์ครึ่งซีกให้เสียตังค์

จากเทคนิคทั้ง 5 ข้อที่กล่าวมาข้างต้น ก็พอจะช่วยเป็นแนวทางในการถ่ายภาพดวงจันทร์ ในคืนวัน Super Full Moon ได้บ้างไม่มากก็น้อย และหวังว่าแฟนเพจทุกคนจะสามารถเก็บภาพสุดประทับใจในคืนวัน Super Full Moon สวยๆ มาฝากแอดบ้างนะ

 

แหล่งข้อมูล : ศุภฤกษ์ คฤหานนท์


Comments are closed.

Check Also

แกรนด์โอเพ็นนิ่ง “โคเอ็น” แบรนด์ดังร้านบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่นปิ้งย่าง-ชาบู-ซูชิ ผงาดเจาะตลาดอีสาน ประเดิมโคราชแห่งแรก!

ดีเดย์ แกรนด์โอเพ็นนิ่งสุดยิ่งใหญ่ KOUEN PREMIUM BUFFET … …