เปิดภาพการออกแบบ TCDC เมืองโคราช ใจกลางเมืองเก่า ซึ่งอยู่บนแนวแกนสำคัญที่เป็นแนวแกนผ่ากลางเชื่อมโยงกับ Node และพื้นที่สาธารณะสำคัญของเมือง ทั้งลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ศาลหลักเมือง วัดพระนารายณ์มหาราช และไนท์บาซ่าร์สวนหมาก จากศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาจึงมีแนวคิดในการออกแบบให้ TCDC แห่งนี้เป็นพื้นที่ “CREATIVE URBAN ROOM” แสดงตนเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่จะสามารถอุทิศ ปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่สร้างสรรค์ให้กับเมือง การออกแบบที่เปิดเผย เปิดมุมมองด้วยวัสดุโปร่งใสที่เอื้อให้เกิด Urban Visual Connect ระหว่างพื้นที่ภายในและภายนอกจะทำให้เห็นกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นที่ TCDC แห่งนี้ นอกจากนี้ในเทศกาลสร้างสรรค์ต่างๆของเมือง อาคารยังถูกออกแบบให้สามารถเปิดประตูบานใหญ่ด้านหน้าให้สามารถเชื่อมต่อพื้นที่ภายในกับภายนอกได้อย่างต่อเนื่องและไร้ขอบเขต(Borderless Space) จากสภาพแวดล้อมและลักษณะกายภาพของอาคารตลอดทางถนนจอมพลสายนี้ส่วนใหญ่เป็นอาคารพาณิชย์ หรือตึกแถวที่มีสภาพที่ทรุดโทรม และอาคารส่วนใหญ่ถูกสร้างด้วยวัสดุการก่ออิฐฉาบปูนแบบทั่วไป ด้วยเหตุนี้อีกหนึ่งแนวคิดสำคัญคือการชูเรื่อง “CREATIVE USE OF LOCAL MATERIALS” การศึกษาค้นคว้าวัสดุท่องถิ่น ภูมิปัญญาของช่าง ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากศิลปะ หัตถกรรม และรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นต่างๆ เช่น เรือนโคราช-เฉลิมวัฒนา ที่ใช้ไม้ในการก่อสร้างด้วยเทคนิคการเข้าไม้ เข้าลิ่มที่น่าสนใจ, รูปแบบการก่อสร้างปราสาทหินที่ใช้หินทราย, รูปแบบการถักทอผ้าไหมโคราช การใช้เส้นพุ่ง เส้นยืนในการถักทอ, อิฐ หรือเครื่องปันดินเผาด่านเกวียน มีเสน่ห์ของสีดิน แลลวดลายที่หลากหลาย แรงบันดาลใจเหล่านี้เป็นแนวคิดในการนำวัสดุต่างๆนำกลับมาใช้ใหม่ ในภาษาใหม่ ด้วยการใช้ในลักษณะ Composited Material ผสมผสานระหว่างวัสดุ เก่า– ใหม่ และการใช้เทคนิคการก่อสร้างแบบผสมผสานภูมิปัญญาในอดีต และปัจจุบัน โดยให้ความสำคัญกับความยั่งยืน Sustainability และการนำวัสดุเหลือใช้ Waste Material กลับมา Reuse ใหม่ในรูปแบบวัสดุใหม่
บุญใหญ่ ครอบครัวสุวรรณชาติ บริจาคที่ดินให้ รพ.มหาราช ที่ดินเนื้อที่ 237.4 ตารางวา พื้นที่ติดกับตลาดสุรนารี
ปีนี้เตรียมตัวโยก neon space Yappah Fest #4 เทศกาลดนตรีใหญ่กลางเมืองโคราช วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ที่ Mayfair Market