จากที่เพื่อนๆ ได้รู้จักกับโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาสายสามัญมากันหลากหลายโรงเรียนกันแล้ว วันนี้แอดมินจะขอพาเพื่อนๆ ไปรู้จักกับโรงเรียนในสายอาชีพกันบ้าง ซึ่งแอดมินมั่นใจ 100 % ว่าเพื่อนๆ ต้องรู้จักกับโรงเรียนแห่งนี้เป็นอย่างดีแน่นอน วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา หรือที่เราเคยได้ยินชื่อเรียกว่า เทคนิคน้อย ปัจจุบันตั้งอยู่บนถนนสุรนารี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา มีเนื้อที่รวม 42 ไร่ 1 งาน 96 ตารางวา เดิมเป็นโรงเรียนที่มีชื่อว่า โรงเรียนประถมช่างไม้ โรงเรียนแห่งนี้เดิมจะเรียกว่าโรงเรียนก็คงจะไม่เต็มปากวะทีเดียวเพราะโรงเรียนแห่งนี้เป็นเพียงแผนกหนึ่งของโรงเรียนประชาบาล ตำบลในเมือง “วัดสระแก้ว” ที่เปิดรับนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เข้ามาศึกษาต่อในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาที่เปิดสอนหลักๆ จะเป็นวิชาสามัญและช่างไม้ นักเรียนที่เข้ามาศึกษาในโรงเรียนแห่งนี้ หากสอบไล่ได้ปีที่ 6 ก็ถือว่าจบการศึกษาอย่างสมบูรณ์ พ.ศ. 2480 ได้มีการเปลี่ยนแปลงแผนการศึกษาใหม่ ทำให้โรงเรียนประถมช่างไมแยกตัวออกมาจากโรงเรียนประชาบาล แต่ยังคงใช้สถานที่เดิมในการเรียนการสอน พ.ศ. 2481 สืบเนื่องมาจากทางราชการได้มีนโยบาลให้จัดตั้งโรงเรียนอาชีวะการช่างแระเภทต่างๆ ขึ้นในทุกจังหวัด โรงเรียนประถมช่างไม้จึงถูกยุบลงและได้มีการจัดตั้ง โรงเรียนประถมอาชีพช่างไม้ ขึ้นมาแทน โดยใช้สถานที่โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัด เป็นสถานที่เล่าเรียนเปิดเรียน ณ สถานศึกษาแห่งใหม่เมื่อ วันที่ 1 สิงหาคม 2481 พ.ศ. 2482 ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อเป็น โรงเรียนช่างไม้นครราชสีมา รับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เข้าเรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นปีที่ 1 (แผนกช่างไม้ฝีมือ) และต่อมาโรงเรียนเปิดทำการสอนในระดับประโยคมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลาย (แผนกช่างไม้ปลูกสร้าง) หลักสูตร 3 ปีขึ้น โดยรับนักเรียนที่สอบไล่ได้ชั้นประโยคมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้น (แผนกช่างไม้ฝีมือ) และสอบไล่ได้ ม.3 เข้าเรียนต่อในชั้นมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลายที่ 1 (แผนกช่างไม้ปลูกสร้าง) พ.ศ. 2499 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนการช่างนครราชสีมา พ.ศ. 2501 ทางโรงเรียนเปิดสอนในระดับประโยคมัธยมอาชีวชั้นสูง (แผนกช่างไม้และก่อสร้าง) หลักสูตร 3 ปี โดยรับนักเรียนที่สอบไล่ได้ชั้นประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย (แผนกช่างไม้และก่อสร้าง) เข้าศึกษาต่อในมัธยมศึกษาชั้นสูงปีที่ 1 (แผนกช่าง ไม้และก่อสร้าง) พ.ศ. 2502 โรงเรียนได้รับความช่วยเหลือจากองค์การ ส.ป.อ. ให้โรงเรียนอยู่ในโครงการฝึกช่างฝีมือที่จัดขึ้นในประเทศไทย เพื่อผลิตช่างฝีมือระดับกลาง ให้สอดคล้องกับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในด้านอุตสาหกรรม โดยช่วยเหลือทั้งด้านการเงิน อุปกรณ์การสอน และเครื่องมือ เครื่องจักรต่างๆ ทางโรงฝึกงานช่างไม้จึงถูกดัดแปลงให้เป็นโรงงานที่สามารถใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือ เครื่องจักร ที่ใช้ไฟฟ้าได้ พ.ศ. 2504 กรมศึกษาได้เปิดรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้น ม.3 (เดิม) เข้าศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (แผนกช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟฟ้า ช่างวิทยุโทรคมนาคม ช่างกลโรงงาน และช่างเชื่อมโลหะแผ่น) หลักสูตร 3 ปี พ.ศ. 2513 โรงเรียนได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเทคนิคนครราชสีมา ในโครงการเงินกู้ เพื่อพัฒนาอาชีวศึกษา พ.ศ. 2519 โรงเรียนได้รับการยกฐานะเป็น วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา และมีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา วิทยาเขต 1 พ.ศ. 2521 ได้มีการแบ่งวิทยาเขต เพื่อให้เกิดความสะดวกและความเหมาะสมในการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา วิทยาเขต 1 เป็นวิทยาลัยช่างอุตสาหกรรมนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 พ.ศ. 2522 ได้มีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2522 และในปีต่อๆ มาทางวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมาก้ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งในเรื่องของหลักสูตร ที่มีการพัฒนาและเพิ่มเติมสาขาวิชาเข้ามาอย่างไม่หยุดยั้ง จากโรงเรียนประถมที่มีเพียงสาขาวิชาช่างไม้เพียงอย่างเดียว ปัจจุบัน วิทยาลัยเทคนิคเปิดสอนหลากหลายสาขา เป็นทางเลือกหนึ่งทางเลือกให้แก่เยาวชนได้เข้ามาศึกษาและเรียนที่จากผุ้มีประสบการณ์จริง ได้ฝึกงานในสถานที่จริง จนทำให้วิทยาลัยแห่งนี้ ได้รับการคัดเลือกเป็นสถานศึกษารางวัลพระราชทานเมื่อ พ.ศ 2542 และในปี พ.ศ. 2550 ทางวิทยาลัยยังได้มีการจัดการเรียนการสอน โดยความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา ระดับปริญญาตรี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ) อีกด้วย วัตถุประสงค์ของทางวิทยาลัยคือ เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนในสายวิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมและสาขาวิชาพณิชยการ ให้มีมาตรฐานวิชาชีพ มีคุณธรรมและจริยธรรม จัดฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้นและหลักศุตรพิเศษ ให้บริการชุมชนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนต่าง ๆ สืบสานศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นและส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.ntc.ac.th/?usid=20110025 : https://th.wikipedia.org/wiki/วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา ขอขอบคุณรูปภาพจาก : www.koratnana.com : http://fb.sanook.com/view-widget/graphic/?widget=1179138 : http://www.ntc.ac.th/?usid=20110025
บุญใหญ่ ครอบครัวสุวรรณชาติ บริจาคที่ดินให้ รพ.มหาราช ที่ดินเนื้อที่ 237.4 ตารางวา พื้นที่ติดกับตลาดสุรนารี
ปีนี้เตรียมตัวโยก neon space Yappah Fest #4 เทศกาลดนตรีใหญ่กลางเมืองโคราช วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ที่ Mayfair Market