ชาวโคราชตื่นตะลึง!! พบหลักฐานที่คาดว่าน่าจะเป็นรอยจารึกการเสด็จประพาสโคราชของ ร.5 เมื่อ 115 ปีก่อน!? วอนผู้เกี่ยวข้องเร่งตรวจสอบ จากข้อพิพาษที่เคยเป็นที่ถกเถียงเกี่ยวกับการเสด็จมาภาคอีสานของเสด็จพ่อ ร.5 แต่ไร้ซึ่งหลักฐานยืนยัน จึงเป็นขนวนเหตุที่ทำให้เราออกตามรอยเสด็จประพาส ร.5 ที่ทิ้งเงื่อนงำไว้ในบันทึกเสด็จประพาสนครราชสีมา จนนำเรามาสู่ปราสาทหินพนมวัน เพื่อพิสูจน์หาความจริง และสิ่งที่เราพบอาจเปลี่ยนแปลงหน้าประวัติศาสตร์ของชาวโคราชไปตลอดกาล! พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้สร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับชาติอย่างล้นเหลือ ด้วยพระปรีชาสามารถอันยากยิ่งที่จะมีผู้ใดเสมอเหมือน ทรงเป็นกษัตริย์นักเดินทาง ครั้นหนึ่งพระองค์เคยเสด็จประพาสต้นไปยังหัวเมืองต่างๆ ในพระราชอาณาเขตเยี่ยงสามัญชน เพื่อทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินอย่างใกล้ชิด รวมถึงการปกครองของเจ้าหน้าที่ที่ทรงแต่งตั้งว่าปกครองได้เรียบร้อยดีสมดังที่ไว้วางพระราชหฤทัยเพียงใด เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ใดประพฤติมิชอบก็ทรงติเตียนลงโทษ หรือทรงปรับแนะและเปลี่ยนแปลงใหม่ เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองทั้งหลายเคร่งครัดซื่อตรงต่อการงานยิ่งขึ้น ในการเสด็จประพาสไปยังที่ต่างๆ พระองค์จะทรงจารึกอักษรพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. เป็นที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนิน ต่อมาเหล่าผสกนิกรชาวไทยต่างก็ยกย่องสถานที่เหล่านั้นให้กลายเป็นสถานที่ที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ มีค่าควรแก่การศึกษา และอนุรักษณ์ไว้เป็นสมบัติของชาติ และเป็นที่กราบไหว้บูชาเพื่อความเป็นศิริมงคล แต่ทั้งนี้ก็ได้มีเว็บชื่อดังแหล่งหนึ่งตั้งข้อสังเกตว่า “ตามรายนามสถานที่ทั้งหมดที่พระองค์เสด็จประพาสผ่าน น่าสังเกตที่ไม่มีภาคอีสานรวมอยู่ในนั้นเลย” ในขณะที่บันทึกการเสด็จประพาสนครราชสีมาของ ร.5 ในวันที่ 24 ธันวาคม 2443 หน้าที่ 113-114 ตอนหนึ่งมีความว่า “… แล้วเสร็จทรงม้าพระที่นั่งไปประพาสวัดพนมวัน ทอดพระเนตรวิหารอันเป็นของโบราณ ทำด้วยศิลาแท่งใหญ่ๆ ประดับซ้อนขึ้นไป แล้วทรงจารึกพระบรมนามาภิไธยเป็นอักษรย่อ จ.ป.ร. ในแผ่นศิลาฝาผนึกวิหาร แลมีอักษรว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประพาสเมื่อ รัตนโกสินทรศก ๑๑๙ แลลงวันตามจันทรคติ วัน ๒ เดือน ๒ ขึ้น ๔ ค่ำ พุทธศักราช ๒๔๔๓ จุลศักราช ๑๒๖๒ …” จากสองข้อความนี้ที่ขัดแย้งกันอยู่นี้ จึงเป็นเหตุที่ทำให้เราต้องออกค้นหาความจริง จากร่องรอยที่ทิ้งไว้ในบันทึกฯ ซึ่งสิ่งที่เราต้องมองหาในโคราช คือ วัดพนมวัน พระบรมนามาภิไธยเป็นอักษรย่อ จ.ป.ร. และสุดท้ายคืออักษรรายละเอียด ซึ่งก่อนอื่นเลยเราจะต้องเริ่มหาวัดพนมวันให้เจอเสียก่อนเป็นอันดับแรก โดยเส้นทางที่ง่ายที่สุดในการเดินทางไปยังปราสาทหินพนมวัน คือ เริ่มจากหน้า อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม) ไปทาง ต.จอหอ ใช้เส้นทางถนนมิตร หรือถนนสุรนารายณ์ ผ่านหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฎรครราชสีมา ขับรถต่อไป ทางจังหวัดขอนแก่น ข้ามสะพานสูงต่อไปอีกรวม 7 กิโลเมตร เมื่อถึงแยกสัญญาณไฟจราจร จะมีป้ายบอกว่า “วัดหนองบัว วันหนองจอก วันพนมวัน” อยู่ด้านขวาให้เลี้ยวขวาเข้าไปตามทาง อีกประมาณ 5 กิโลเมตร จะถึงวัดพนมวัน ซึ่งเป็นที่ตั้งของปราสาทหินพนมวันที่เรากำลังตามหาอยู่ ปราสาทหินพนมวัน เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย ทำมาจากหินทรายแดงและหินทรายขาว สร้างขึ้นครั้งแรกในราวพุทธศตวรรษที่ 15 ในสมัยแกะแกร์ – บาแค็ง เป็นปรางค์ 5 หลัง แล้วมาถูกสร้างทับในยุคใกล้เคียงกันอีก รวมเป็นอาคารอิฐทั้งหมด 10 หลัง แม้โบราณสถานแห่งนี้มีรูปแบบเดียวกันกับปราสาทหินพิมาย แต่ทุกวันนี้ โบราณสถาน ณ เมืองพิมายกลับมีนักท่องเที่ยวให้ความนิยมไปชมความงามกันมากมายตลอดเวลา ในขณะที่ปราสาทหินพนมวันปล่อยให้ถูกทิ้งร้าง เงียบเหงา ไร้คนเข้าไปเหลี่ยวแล ในการสำรวจหาร่องรอยที่อยู่ในบันทึกเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะในบันทึกฯ ไม่ได้บอกพิกัดที่แน่ชัดว่ามีการจารึกอยู่ตรงจุดใดของปราสาท เราจึงมองหาทุกๆ ที่ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็น “แผ่นศิลาฝาผลึกวิหาร” ตามที่ระบุไว้ในบันทึกฯ จนในที่สุด! เราก็ได้สังเกตเห็นรอยจารึกอะไรบางอย่าง อยู่ตรงทับหลังของช่องประตู ระหว่างปรางค์ปราสาทกับมณฆป แม้รอยจารึกนี้จะซีดจางไปบ้างตามกาลเวลา แต่เมื่อเพ่งมองดีๆ จะเห็นแผ่นพลาสติกใสปิดทับเอาไว้ ซึ่งเราสันนิษฐานก่อนเลยว่าจะต้องเป็นรอยจารึกที่มีความสำคัญ จึงมีคนนำแผ่นพลาสติกใสมาปิดทับไว้เพื่อป้องกันความเสียหาย แล้วที่สำคัญคือปราสาททั้งหลังมีเพียงจุดนี้เพียงจุดเดียวที่น่าสงสัยที่สุด เราจึงได้บันทึกรูปและขยายภาพ เทียบกับรอยจารึกที่เสด็จพ่อร.5 เคยจารึกไว้ตามสถานที่ต่างๆ จะเห็นได้ว่ารอยจารึกค่อนข้างซีดจาง อ่านด้วยตาเปล่าลำบากมาก ยิ่งมองผ่านภาพถ่ายแทบมองไม่ออกเลยว่ารอยจารึกนั้นมีข้อความว่าอย่างไร รอยจารึกฝั่งซ้ายของแผ่นศิลา ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็น พระบรมนามาภิไธย อักษรย่อ จ.ป.ร. รอยจารึกฝั่งขวาของแผ่นศิลา ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็น อักษรรายละเอียด เมื่อเราลองพยายามถอดข้อความแต่ละตัวอักษร แล้วนำมาประกอบกัน จะพบว่า ฝั่งซ้ายจะเป็นพระบรมนามาภิไธย อักษรย่อ จ.ป.ร. พร้อมอักษรรายละเอียด ความว่า “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประพาสเมื่อ รัตนโกสินทรศก ๑๑๙ แลลงวันตามจันทรคติ วัน ๒ เดือน ๒ ขึ้น ๔ ค่ำ พุทธศักราช ๒๔๔๓ จุลศักราช ๑๒๖๒” ซึ่งตรงกับบันทึกเสด็จประพาสนครราชสีมาไม่มีผิดเพี้ยน ถ้านี่คือเรื่องจริง สิ่งนี้จะเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่ช่วยยืนยันถึงการเสร็จมาเยือนโคราชของท่านในวันที่ 21-25 ธันวาคม 2443 และเมื่อท่านได้เสด็จมาชมปราสาทพนมวัน ในวันที่ 24 ธันวาคม 2443 ท่านได้ฝากรอยจารึกของท่านไว้ ณ ที่แห่งนี้ นับเป็นเวลา 115 ปี ปีมาแล้ว แต่เราเพิ่งจะรู้กัน จึงขอวอนให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนรับผิดชอบ เร่งเข้าตรวจสอบ เพราะทั้งหมดทั้งมวลที่เรานำมาเสนอท่านในวันนี้ด้วยเจตนาว่า รอยจารึก “พระบรมนามาภิไธย อักษรย่อ จ.ป.ร.” ของ ร.5 นี้ เป็นของสูง เป็นสิ่งมีค่ายิ่งนัก นับเป็นมิ่งมงคลแก่บ้านเมือง สมควรที่เราชาวนครราชสีมาจะได้ปฏิบัติต่อรอยจารึกนี้ให้สมพระเกียรติ แห่งพระมหากษัตริย์ไทย ขอขอบคุณข้อมูลจากคุณสัมพันธ์ รัตนจันทร์ ** เกร็ดความรู้: เหตุที่เรียกกันว่า “เสด็จประพาสต้น” นี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายว่า เกิดแต่เมื่อครั้งเสด็จคราวแรก เพราะมีพระราชประสงค์มิให้ใครได้รู้ ว่าเสด็จไปทรงเรือมาดเก๋ง 4 แจวลำหนึ่ง เรือนั้นไม่พอบรรทุกเครื่องครัว จึงทรงซื้อเรือมาดประทุน 4 แจว ที่แม่น้ำอ้อม ที่แขวงราชบุรี และโปรดฯ ให้เจ้าหมื่นเสมอใจราช (อ้น) เป็นผู้คุมเครื่องครัว ทรงพระราชดำรัส เรือลำนี้ว่า “เรือตาอ้น” เรียกเร็วๆ เสียงจะกลายเป็น “เรือต้น” เหมือนบทเห่ซึ่งกล่าวว่า “พระเสด็จโดยแดนชล ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย” ซึ่งฟังดูไพเราะ แต่เรือประทุนลำนั้นใช้การได้อยู่ไม่มาก จึงเปลี่ยนมาเป็นเรือมาด 4 แจว กับอีกลำหนึ่ง และโปรดฯ ให้เอาเรือต้นมาใช้เพื่อเป็นเรือพระที่นั่ง โดยมีพระราชประสงค์จะมิให้ผู้ใดทราบว่า เสด็จไปเป็นสำคัญ และเรียกการประพาสเช่นนี้ว่า “ประพาสต้น” …ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แหล่งข้อมูล: http://www.oknation.net/blog/voranai/2007/10/21/entry-1 http://info.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=33&id=19921 http://swdschool.com/kroo/pukwipa/l05-03.html http://valuablebook2.tkpark.or.th/2015/4/document1.html https://sites.google.com/site/sedcpraphastn/
บุญใหญ่ ครอบครัวสุวรรณชาติ บริจาคที่ดินให้ รพ.มหาราช ที่ดินเนื้อที่ 237.4 ตารางวา พื้นที่ติดกับตลาดสุรนารี
ปีนี้เตรียมตัวโยก neon space Yappah Fest #4 เทศกาลดนตรีใหญ่กลางเมืองโคราช วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ที่ Mayfair Market