เมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558 ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย ได้กล่าวสัมมนาในหัวข้อเรื่อง “ทิศทางอนาคตเศรษฐกิจไทย 2559” จัดโดย สถาบันไทรเด้น คริปโต เซนเตอร์ ถึงสถานการณ์เศรษฐกิจต่างประเทศและไทย โดยเกิ่นนำว่า การที่สินค้าเกษตร และการส่งออกหดตัวอย่างรุนแรงทำให้เกิด 2 สิ่ง ได้แก่ 1.ประชาชนในชนบทถูกกระทบอย่างรุนแรงจากราคาสินค้าเกษตรที่ผลิตตกต่ำ ทำให้รายได้ครัวเรือนภาคเกษตรตกเกือบครึ่ง และ 2.ประชาชนในเมืองที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ได้แก่ การค้าปลีก ค้าส่ง และการส่งออก แม้ว่าราคาสินค้าอุตสาหกรรมจะตกไม่มากเท่ากับราคาสินค้าเกษตร แต่ความมั่นใจในอนาคตของในเรื่องรายได้ และเรื่องการจ้างงานเริ่มไม่แน่นอน ทำให้ประชาชนในเมืองลดการบริโภคลงไปด้วย ไม่ใช่แต่ในต่างจังหวัด Credit: chaoprayanews.com ด้วยเหตุนี้ภาคอุตสาหกรรมซึ่งปกติแล้วใช้ตลาดภายในประเทศเป็นฐานและทำการส่งออก และพวกซัพพลายเชนจึงถูกกระทบไปด้วยเป็นวัฏจักร ดังนั้นเราจึงเห็นว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคอาเซียนตกหมด และตกมากกว่าอัตราการขยายตัวที่ลดลงของจีน กล่าวคือหากจีนลด 1% ภูมิภาคอาเซียนลดลง 2-3% เพราะเป็นประเทศปลายทาง สถานการณ์เช่นนี้จะเป็นเหตุให้ประเทศต่างๆระมัดระวังในเรื่องการดำเนินนโยบายการเงินฟันธงเฟด (FED) ไม่ขึ้นดอกเบี้ย ธ.ค. นี้ Credit: i-uv.com “ทั้งโลกเชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด (FED) จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธันวาคมนี้ตามที่เคยได้ให้คำมั่นสัญญาไว้แล้ว แต่ผมเองไม่แน่ใจ เพราะด้านหนึ่งแม้อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ จะต่ำกว่าเป้าหมาย แต่ในด้านอัตราเงินเฟ้อก็ต่ำกว่าเป้าหมายด้วย เพราะฉะนั้น เหตุผลที่เฟดจะขึ้นหรือไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยมีคำอธิบายได้ทั้ง 2 ทาง และหากว่าตลาดหุ้นในสหรัฐฯ หรือในประเทศจีน หรือเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังอยู่ในสภาวะที่ผันผวนอยู่อย่างนี้ โอกาสที่เฟดจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็ยังมี” Credit: checkraka.com ทั้งนี้ หากมองในแง่เศรษฐกิจไม่พร้อมในแง่การเมืองในสหรัฐฯ ในขณะที่เศรษฐกิจของโลกอยู่ในภาวะซบเซา การขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือการลดอัตราดอกเบี้ยจะไม่มีผลอะไรมาก โดยการขึ้นดอกเบี้ยก็จะยิ่งทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งขึ้น ซึ่งปัจจุบันก็ถือว่าแข็งค่าอยู่แล้ว โดยการที่ค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้นจะเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ทั้งที่สหรัฐฯ กำลังมีความสุขกับการที่อัตราการว่างงานลดลง แต่ในขณะเดียวกันก็จะทำให้เงินไหลออกจากภูมิภาคอาเซียนกลับมาที่ตลาดสหรัฐฯมากขึ้น ส่วนค่าเงินในภูมิภาคอาเซียนก็จะปรับตัวสูงขึ้น เพราะฉะนั้น การดำเนินนโยบายการเงินของทุกประเทศไม่ว่าจะเป็นจีน ไทย และประเทศในอาเซียนมีความไม่แน่นอนสูงว่าผู้ดำเนินนโยบายการเงินจะดำเนินการอย่างไรแน่ ชี้ศก.จีน-อาเซียนสู่วัฏจักรขาลง Credit: socialistalternative.org “ได้มีโอกาสคุยกับผู้ที่ดูแลนโยบายการเงิน เค้าเองก็ยังงงว่าไม่ทราบว่าทิศทางของการเงินในภูมิภาคนี้ในปีหน้าจะเป็นอย่างไร แต่ทุกคนเชื่อว่าเศรษฐกิจในปีหน้าจะแย่กว่าปีนี้ เพราะความต้องการของโลกยังจะลดต่ำลงอีก การที่เศรษฐกิจของสหรัฐฯดีขึ้นไม่สามารถชดเชยกับการภาวะเศรษฐกิจของจีนจะค่อยๆลดลง ทุกคนเชื่อว่าจีนอาจจะมีภาวะหยุดหรือถดถอยได้ แต่การถดถอยของเศรษฐกิจจีนนั้นใหญ่มากกว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะชดเชยได้ และหากจะนำทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์มาจับว่าการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในช่วงปีที่แล้วกับปีนี้เป็นวัฏจักรที่แท้จริง หรือเศรษฐกิจเป็นวัฏจักรขาลง ” [soliloquy id=”775″] ดร. วีระพงษ์ กล่าวอีกว่า ที่มองว่าอัตราการขยายตัวของอาเซียนปี 2559 น่าจะแย่กว่าปี 2558 เพราะว่าปีนี้อัตราการขยายตัวที่ยังลงไม่สุด เพราะเหตุว่าราคาน้ำมันลดลงมาช่วย เป็นเหตุให้การหดตัวของการนำเข้าของทุกประเทศหดตัวเป็นเปอร์เซ็นต์มากกว่าการหดตัวของการส่งออก โดยจะเห็นได้ว่าการส่งออกของไทยเดือนตุลาคมหดตัวประมาณ 8% แต่การนำเข้าหดตัว 12% แต่ราคาสินค้านำเข้าปีหน้า โดยเฉพาะในเรื่องของน้ำมัน แร่ธาตุต่างๆอาจจะไม่หดตัวเป็นเปอร์เซ็นต์มากเท่ากับปีนี้ เพราะฉะนั้นอัตราการหดตัวของการนำเข้าของปีหน้าอาจจะไม่มากเท่าปีนี้มองศก.ไทยแค่ฟื้นชั่วคราว Credit: chaoprayanews.com “หากอัตราการหดตัวของการนำเข้าปีหน้าไม่หดตัวเท่ากับปีนี้ การหดตัวของจีดีพีจะสูงกว่าปีนี้ หากว่าอัตราการหดตัวของส่งออกยังไม่ขยายตัวกลับมาสู่ภาวะปกติ ด้วยเหตุนี้ผมจึงคาดได้ว่าประเทศในอาเซียนคงจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ย แม้ว่าสหรัฐฯ จะขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งหากสถานการณ์เป็นไปในรูปแบบดังกล่าวก็จะยิ่งซ้ำเติมให้เงินทุน ซึ่งเริ่มไหลออกจากอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากไทยตั้งแต่ครึ่งหลังของปีนี้เป็นต้นมา จากที่ครึ่งปีแรกยังเป็นการไหลเข้า โดยการไหลออกของเงินน่าจะคงมีต่อไปในปีหน้า” ผลกระทบต่อการไหลออกของเงินทุนจะมีอยู่ 2 ประการ คือ 1.ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลง และ2.ทำให้ดัชนีราคาหุ้นปรับตัวลดลง ซึ่งทั้ง 2 ลักษณะดังกล่าวนี้อาจจะพบได้ในปีหน้า โดยในปี 2559 ในมุมมองส่วนตัวแล้ว ถือว่าเป็นปีที่ไม่น่าอภิรมย์เท่าไหร่ อีกทั้งยังไม่เห็นสัญญาณแต่อย่างใด ว่าเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงในปีนี้จะเป็นปีที่ต่ำที่สุดแล้ว โดยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหากเป็นไปตามวัฏจักรจะใช้เวลาประมาณ 3-5 ปี ซึ่งจะมีทิศทางที่เป็นไปในลักษณะของการมีขึ้นและมีลง หรือในภาษาเศรษฐศาสตร์จะเรียกว่าการฟื้นตัวชั่วคราวมองต่างปีแห่งการลงทุน! ดร.วีรพงษ์ ยังกล่าวถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย โดยเชื่อว่ายังไม่น่าจะลด หรือเรียกว่าไม่กล้าลดในเวลานี้ ขณะที่ค่าเงินบาทน่าจะอ่อนลงมากกว่านี้ ส่วนเงินเฟ้อคงไม่มี เพราะราคาพลังงานไม่น่าจะฟื้นตัวในปีหน้า ถึงแม้ว่าราคาพลังงานจะฟื้นตัวในปีหน้า แต่ราคายางพาราก็จะไม่ฟื้นตัว ด้นดัชนีราคาหุ้นก็คงจะอ่อนตัว หรือซึมยาวในปีต่อไป โดยการลงทุนในปีนี้ไม่ดีเลย ผู้ที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน 8 แสนล้านบาทมีการลงทุนเพียงไม่ถึง 20% ของบัตรลงทุนที่ได้รับไป ซึ่งในปีหน้าก็คงจะเป็นไปในลักษณะดังกล่าวนี้ เพราะอัตราการใช้กำลังการผลิตมีไม่ถึง 60% และน่าจะเป็นไปในลักษณะนี้ในปีหน้าต่อไป เพราะฉะนั้น การลงทุนของภาคเอกชนในปีหน้าจึงไม่มี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนจากต่างประเทศไม่น่าจะมีมาก เนื่องจากตลาดต่างประเทศยังไม่ดี และไทยยังมีปัญหาจากการเมืองที่เป็นอุปสรรค ที่ประเทศนำเข้ายังไม่ค่อยยินดีเท่าใดนัก จึงทำให้ไม่มีการลงทุน Credit: matichon.co.th ในขณะที่การลงทุนภาครัฐที่มีการประกาศลงทุนในเมกกะโปรเจ็กต์ต่างๆ เช่น รถไฟความเร็วสูง ก็คงไม่เกิด โดยโครงการที่ตกลงกับจีน และญี่ปุ่นในความคิดเห็นส่วนตัวไม่เชื่อว่าจะเกิด เพราะรัฐบาลไม่ได้ปฏิบัติ และทำตามขั้นตอนของกฎหมาย หากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไปเซ็นสัญญา เมื่อลงจากตำแหน่งก็จะถูกสอบสวน เนื่องจากไทยมีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ร่วมทุนรัฐกับเอกชน หรือพีพีพี (PPP) ซึ่งออกมาในสมัยที่นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะเดียวกันคณะปฏิวัติก็ไม่กล้าที่จะใช้มาตรา 44 ที่จะเวฟกระบวนการการตัดสินใจที่จะลงทุนขนาดใหญ่เหล่านี้ “ผมไม่แน่ใจว่ากฎหมายอนุญาตให้ทำเช่นนั้นหรือไม่ นอกจากจะใช้อำนาจคณะปฏิวัติ ซึ่งกำลังฟังอยู่ว่าใช้หรือยัง เพราะฉะนั้น ผมเชื่อว่าไม่เกิดอะไรขึ้นสำหรับปีหน้า อย่างไรก็ตาม ผมก็ได้แต่หวังว่าสิ่งที่ผมกล่าวมาจะไม่เกิด และถ้าไม่เกิดขึ้นก็จะดีใจมาก” ดร.วีรพงษ์ กล่าวทิ้งท้าย แหล่งข้อมูล: ฐานเศรษฐกิจ ภาพประกอบ: http://chaoprayanews.com/
บุญใหญ่ ครอบครัวสุวรรณชาติ บริจาคที่ดินให้ รพ.มหาราช ที่ดินเนื้อที่ 237.4 ตารางวา พื้นที่ติดกับตลาดสุรนารี
ปีนี้เตรียมตัวโยก neon space Yappah Fest #4 เทศกาลดนตรีใหญ่กลางเมืองโคราช วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ที่ Mayfair Market