ขึ้นชื่อว่าจังหวัดนครราชสีมา หรือ โคราชบ้านเอง หากเอ่ยถึงจังหวัดนี้คงจะไม่มีใครไม่รู้จักอย่างแน่นอน เพราะนอกจากจะเป็นประตูสู่ภาคอีสานแล้ว โคราชยังเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานหลายร้อยปี และยังเป็นสถานที่ที่รวบรวมตั้งกำเกิดของอารยธรรมต่างๆ ไว้มากมาย และในวันนี้เพจโคราชเมืองที่คุณสร้างได้ จะขอพาทุกๆ คนไปรู้จักับสถานที่แห่งประวัติศาสตร์ของชาวโคราชกัน และจะเป็นที่ไหนไปไม่ได้ นอกจาก อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย หรือ ปราสาทหินพิมายนั่นเอง อุทยานประวัติศาสร์พิมายตั้งอยู่ที่อำเภอพิมาย ประกอบไปด้วยโบราณสถานสมัยขอมที่ใหญ่ที่ในประเทศมีความงดงามอลังการไม่แพ้ที่ไหนๆ นั่นก็คือ ปราสาทหินพิมาย ว่ากันว่าชื่อ พิมายนั้นน่าจะมาจากคำว่า วิมาย หรือ วิมายปุระ จากหลักฐานศิลาจารึกและสิลปะการก่อสร้างบ่งบอกว่า ปราสาทหินพิมายน่าจะสร้างขึ้นราวๆ ปลายพุทธศตวรรษที่ 16 สมัยพระเจ้าสุริยวนมันที่ 1 และต่อเติมอีกครั้งราวๆ ต้นพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ปราสาทหินแห่งนี้มีรูปแบบทางศิลปกรรมของตัวปราสาทเป็นแบบปาปวน โดยมีลักษณะของศิลปะนครวัดปะปนอยู่บ้าง ลักษณะพิเศษของปราสาทแห่งนี้อยู่ที่ตัวปราสาทจะหันหน้าไปทางทิศใต้ซึ่งต่างจากปราสาทหินอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่มักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิมหายานเนื่องจากเมืองพิมายในสมัยนั้นมีความใกล้ชิดและมีสัมพันธ์อันดีงามกันอาณาจักรเขมร และพระเจ้าสุริยวนมันที่ 1 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก็ทรงนับถือพุทธศาสนาลัทธิมายานอีกด้วย ปราสาทหินพิมายมีแบบแปลนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตร ล้อมรอบด้วยคูน้ำมีประตูเมืองทั้งสี่ทิศ ภายในบริเวณปราสาทหิน มีโบราณสถานที่น่าสนใจหลายแห่งโดยเริ่มตั้งแต่ทางเข้าพลับพลา ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้ากำแพงชั้นนอก ด้านซ้ายมือของทางเดินเข้าสู่ตัวปราสาท เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เดิมเรียกกันว่า คลังเงิน จากตำแหน่งและที่ตั้งสันนิษฐานว่าเดิมสถานที่ตรงนี้คงเป็นที่พักเตรียมพระองค์สำหรับกษัตริย์ หรือเจ้านายชั้นสูงที่เสด็จมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา รวมทั้งเป็นสถานที่พักจัดขบวนสิ่งของถวายต่าง ๆ จากการขุดแต่งบริเวณนี้เมื่อปี พ.ศ. 2511 ได้พบโบราณวัตถุจำนวนมาก มีทั้งรูปเคารพ เครื่องประดับ และเหรียญสำริด เป็นเหตุให้เรียกกันว่าคลังเงิน สะพานนาค เมื่อเดินเข้าสู่ตัวปราสาทสิ่งแรกที่จะเห็นคือสะพานนาคเป็นทางที่ทอดนำไปสู่ตัวปรางค์ มีนาคทอดตัวยาวเป็นราวบันได ชูเศียรทั้งเจ็ดแผ่พังพานเปล่งรัศมีอย่างสวยงาม ที่เชิงบันไดนาคทั้งสองข้างมีสิงห์ยืนตระหง่านจำหลักจากหินประดับอยู่ข้างละตัว สิงห์มีท่าทางองอาจเสมือนเป็นผู้พิทักษ์โบราณสถานลักษณะทางศิลปกรรมของสิงห์และนาคนี้ คล้ายศิลปะที่นครวัดที่สร้างในช่วงรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 พระระเบียง หากเดินมาจนถึงระเบียงก็ถือว่าเข้าสู่เขตชั้นในของปราสาทหินแล้ว พระระเบียงแต่ละด้านมีซุ้มประตูหรือโคปุระชั้นในอยู่กึ่งกลาง สิ่งที่น่าสนใจคือกรอบประตูด้านทิศใต้ที่มีจารึกบนแผ่นหินเป็นอักษรเขมรโบราณกล่าวถึงการสร้างเมืองพิมายและการสร้างรูปเคารพ ซุ้มประตูและกำแพงแก้ว ซุ้มประตูหรือโคปุระ จะตั้งอยู่กึ่งกลางของแนวกำแพงแก้ว อยู่ในแนวตรงกันหมดทั้ง 4 ด้าน คือ ทิศเหนือ-ใต้ อยู่ตรงกึ่งกลางของกำแพง ทิศตะวันออก-ตะวันตกค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย ผังโดยรอบของซุ้มประตูมีลักษณะเป็นรูปกากบาท จากกำแพงแก้วเข้ามาด้านในเชื่อกันว่าเป็นดินแดนของโลกสวรรค์ อันเป็นที่อยู่ของเทพเจ้า ปรางค์ประธาน จะมีขนาดใหญ่ที่สุด สร้างขึ้นช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 หันหน้าไปทางทิศใต้ต่างจากปราสาทขอมแห่งอื่นๆ จากสันนิษฐานคาดว่าปราสาทหินพิมายน่าจะหันไปทางเมืองพระนคร ตัวปรางค์ประธานจะมีการสลักลวดลายต่างๆ เช่น ลายกลีบบัว ลายประจำยาม ก่อด้วยหินทรายสีขาวทำเป็นชั้นซ้อนขึ้นไปห้าชั้น ส่วนยอดสลักเป็นรูปครุฑแบกทั้งสี่ทิศ เหนือขึ้นไปสลักเป็นรูปเทพประจำทิศต่างๆ และรูปดอกบัว ทับหล้งและหน้าบันที่ประดับองค์ปรางค์ประธานส่วนใหญ่เล่าเรื่องรามายณะ และคติความเชื่อในศาสนาฮินดูหรือพราหมณ์ ปรางค์พรหมทัต ก่อด้วยศิลาแลง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เมื่อคราวที่พระองค์ทรงบูรณะปราสาทหินพิมาย ภายในปรางค์พบประติมากรรมศิลารูปบุคคลขนาดใหญ่นั่งขัดสมาธิ ชาวบ้านพาเรียกกันว่าท้าวพรหมทัต แต่นักโบราณคดีเชื่อว่าเป็นพระบรมรูปของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และพบผู้หญิงนั่งคุกเข่าที่ชาวบ้านเรียกว่า นางอรพิมพ์ ในตำนานอรพิมพ์ ปาจิตต ซึ่งเป็นเรื่องเล่าในท้องถิ่น ปรางค์หินแดง ตั้งอยู่ด้านขวาของปรางค์ประธาน ก่อด้วยหินทรายสีแดง มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 ในสมัยพระเจ้าวรมันที่ 2 ซึ่งนับถือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกายและ ได้พบศิวลึงค์ในหอพราหมณ์ซึ่งตั้งอยู่ติดกับปรางค์หินแดงถึงเจ็ดองค์ จึงสันนิษฐานว่าจะเป็นสถานที่ที่ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์ บรรณาลัย เป็นอาคารก่อด้วยหินทราย สีแดงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง ตั้งอยู่ใกล้ซุ้มประตูทิศตะวันตก นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นที่เก็บรักษาตำราทางศาสนา หรืออาจจะเป็นที่ประทับของกษัตริย์ที่เสด็จมาทรงประกอบพิธีกรรม สระน้ำหรือบาราย โบราณสถานเขมรมักมีสระน้ำหรือภาษาเขมรเรียกว่า บาราย เป็นสระที่ขุดขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำไว้อุปโภคบริโภค บางคนก็เชื่อว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมบริเวณเมืองพิมายมีบารายอยู่หลายแห่ง ที่อยู่ในกำแพงเมืองคือ สระแก้ว สระพรุ่ง และสระขวัญ นอกกำแพงเมืองคือ สระเพลง อยู่ทางทิศตะวันออก สระโบสถ์ อยู่ทางทิศตะวันตก ประตูชัย เป็นหนึ่งในประตูเมืองซึ่งมีอยู่ทางสี่ทิศ ประตูชัยอจะยู่ทางด้านทิศใต้ของปราสาทหินพิมายเพื่อให้รับกับถนนโบราณที่ทอดมาจากเมืองพระนครในเขมร มีแผนผังการก่อสร้างจะเหมือนกันทุกประตู คือเจาะเป็นช่องสูงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยศิลาแลงด้านข้างทั้งสองด้านของประตูมีห้องอยู่สามห้อง ก่อสร้างในยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และสันนิษฐานว่าคงได้รับการก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นภายหลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กุฏิฤาษี บริเวณที่ตั้งกุฏิฤาษีเป็นจุดสิ้นสุดของถนนโบราณที่มีต้นทางจากเมืองพระนครในเขมร แต่ไม่เหลือร่องรอยถนนไว้ให้เห็นเพราะเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน จากหลักฐานและการสัญนิฐานต่างๆ จากเหล่านักโบราณคดีที่มาสำรวจสถานที่แห่งนี้ ต่างก้ให้ข้อมูลว่าปราสาทหินพิมายได้สร้างขึ้นในยุคที่อาณาจักรขอมมีความรุ่งเรืองและแผ่อำนาจเข้ามายังภูมิภาคแห่งนี้ เมืองพิมายเป็นอีกเมืองหนึ่งที่ถือว่ามีความสัมพันธ์อันดีกับอาณาจักรขอม และการสร้างปราสาทหินก็เป็นอีกหนึ่งหลักที่จะช่วยยืนยันความสัมพันธ์ครั้งนี้ได้ ปราสาทหินพิมายได้ถูกขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากรให้เป็นโบราณสถานแห่งชาติเมื่อปี 2479 และเริ่มมีการบูรณะครั้งแรกเมื่อปี 2494 และในปี 2497 กรมศิลปากรได้บูรณะองค์ปรางค์ประธานอีกครั้ง จนแล้วเสร็จในช่วงปี 2012 และในปี 2529 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 ได้กำหนดให้ เมืองโบราณพิมายและปราสาทหินพิมายเป็นอุทยานประวัติศาสตร์กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทหินพิมายเป็นโบราณสถาน และได้จัดตั้งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2532 โดยความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร และประเทศฝรั่งเศส ที่ตั้งและการเดินทาง : อำเภอพิมายห่างจากโคราชประมาณ 60 กม. รถยนต์ส่วนตัว : จากตัวเมืองโคราชใช้ถนนมิตรภาพ หรือทางหลวงหมายเลข 2โคราช-ขอนแก่น ประมาณ 50 กม.พบทางแยกตลาดแคให้เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 206 อีก 10 กม.จะถึงปราสาทหินพิมายซึ่งตั้งอยู่กลางเมืองพิมาย รถประจำทาง : ขึ้นรถโดยสารโคราช-พิมาย ที่สถานีขนส่งแห่งที่ 2 ในตัวเมืองโคราชมีทั้งรถปรับอากากาศและรถธรรมดา รถจอดหน้าปราสาทหินพิมาย ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย : http://pr.prd.go.th/nakhonratchasima/ewt_news.php?nid=178&filename=index
บุญใหญ่ ครอบครัวสุวรรณชาติ บริจาคที่ดินให้ รพ.มหาราช ที่ดินเนื้อที่ 237.4 ตารางวา พื้นที่ติดกับตลาดสุรนารี
ปีนี้เตรียมตัวโยก neon space Yappah Fest #4 เทศกาลดนตรีใหญ่กลางเมืองโคราช วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ที่ Mayfair Market