วันที่ 23 มีนาคม ความคืบหน้าเหตุไฟไหม้บ่อขยะขนาดยักษ์เกือบ 2 แสนตันใน อ.ปากช่อง ตั้งแต่บ่ายวันที่ 21 มีนาคม จนเกิดควันปกคลุมทั่ว 2 ตำบล คือ ต.หนองสาหร่าย ต.จันทึก หลายหมู่บ้าน และยังมีสถานศึกษา วิทยาลัยการอาชีพ อยู่ห่างบ่อขยะประมาณ 1 กม.ก็ได้รับผลกระทบ ซึ่งได้ระดมรถดับเพลิงทำการดับไฟในกองขยะจนเข้าสู่วันที่ 3 โดยเมื่อ 09.30 น. นายคมกฤษณ์ ลิ้มปัญญาเลิศ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองปากช่อง จ.นครราชสีมา ได้ลงพื้นที่บ่อขยะดูความคืบหน้าการฉีดน้ำดับไฟของเจ้าหน้าที่ โดยมีรถดับเพลิงของเทศบาลและของทางทหารพร้อมเจ้าหน้าที่กว่า 7 คัน ซึ่งการควบคุมการลุกลามอยู่ในวงจำกัดได้แล้ว เนื่องจากได้นำรถติดกระดานดันเคลียร์ทางผ่ากองขยะรอบจุดที่เกิดเพลิงไหม้ รวมทั้งตรวจศูนย์บริการอำนวยความสะดวกบริเวณริมถนนมิตรภาพ ปากทางเข้าบ่อขยะ แต่ก็ยังไม่มีชาวบ้านได้รับผลกระทบระบบทางเดินหายใจจากควันไฟไหม้บ่อขยะ

201703231320192-20110510201718

นายคมกฤษณ์กล่าวว่า พื้นที่ทิ้งขยะแห่งนี้ เป็นที่ราชพัสดุ โดยมอบให้ทางทหาร แผนกส่งกำลังเสบียง กองเกียกกาย กรมพลาธิการทหารบกเป็นผู้ดูแล บริเวณหมู่บ้านโนนป่าติ้ว หมู่ 22 ริมถนนมิตรภาพสายเก่า เข้าปากช่อง ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง ซึ่งเทศบาลเมืองปากช่องได้มีหนังสืออนุญาตจากทางทหารให้ใช้พื้นที่เป็นที่ทิ้งขยะ เนื้อที่จำนวน 56-1-00 ไร่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 รวมประมาณ 26 ปีแล้ว ซึ่ง อ.ปากช่องมี 12 ตำบล มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแยกออกเป็น 5 เทศบาล คือ เทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตำบล 4 แห่ง และ อบต. 9 แห่ง ยกเว้นเทศบาลตำบลสีมามงคล หมูสี กลางดง อบต.หนองน้ำแดง และ อบต.พญาเย็น นำไปทิ้งที่โรงงานทีพีไอ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานทหาร หน่วยงานต่างๆ รวมทั้งขยะจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ที่นำมาทิ้งในจุดเดียวกัน รวมประมาณ 100 ตัน/วัน การมีส่วนร่วมไม่ใช่เป็นหน้าที่ของตนฝ่ายเดียว ทุกหน่วยงานและองค์กรต้องร่วมกันเนื่องจากทุกหน่วยงานได้ใช้ประโยชน์

นายคมกฤษณ์กล่าวต่อว่า การกำจัดขยะส่วนใหญ่จะใช้วิธีฝังกลบ และการย่อยสลายของขยะต้องใช้เวลานานเพราะขยะมีถุงยางพลาสติกเป็นส่วนใหญ่ กว่าจะย่อยสลายต้องใช้เวลากว่า 10 ปี และพื้นที่มีน้อย จึงทำให้การขุดหลุมฝังกลบไม่เพียงพอ โดยมีข้อตกลงว่าห้ามกำจัดแบบเผาเพราะจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศมลพิษทางอากาศ ต่อมาเมื่อปี 2558 เกิดเหตุเพลิงไหม้บ่อขยะแห่งนี้ในลักษณะเดียวกัน แต่ในช่วงนั้นขยะยังไม่เพิ่มมากขนาดนี้ และเมื่อต้นปี 2559 ทางทหารขอคืนพื้นที่และให้หาที่ทิ้งขยะในพื้นที่อื่น โดยไม่ยอมให้นำขยะมาทิ้ง ทำให้รถขนขยะไม่สามารถเข้าไปทิ้งขยะได้ 1 วัน สร้างความเดือดร้อน ต่อมาได้มีการเจรจาตกลงกันระหว่างทหาร อบต.หนองสาหร่าย เทศบาลเมืองปากช่อง โดยมีนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าฯนครราชสีมา เป็นประธานการประชุมหาทางออกร่วมกันหลายครั้ง เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของ อ.ปากช่องที่ว่างเปล่าเป็นของส่วนราชการ เช่น ที่ทหาร ที่กองวัคซีน และที่ดินมีราคาสูงมาก ซึ่งที่สุดการเจรจาตกลงโดยที่ทางทหารตกลงให้ใช้พื้นที่อีกชั่วคราวเป็นเวลา 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2559-2564 และเห็นชอบจากมติสภา อบต.หนองสาหร่าย เจ้าของพื้นที่

201703231320203-20110510201718

ด้านนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าฯนครราชสีมา เปิดเผยว่า การที่ทางทหารที่ดูแลและขอคืนพื้นที่บ่อขยะ คิดว่าน่าเป็นห่วง เพราะ อ.ปากช่องมีพื้นที่กว้างใหญ่และเป็นอำเภอที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวมาก ความเจริญมากเท่าไหร่ ขยะมูลฝอยก็เพิ่มมากขึ้น พื้นที่แหล่งกำจัดก็หายาก เพราะหาพื้นที่ไม่มีแล้ว มีเพียงของทางราชการทหารที่มีมาก และยังมีการประชุมหารือกันอยู่ว่าจะหาทางแก้ไขแบบไหน หากจะจัดสร้างเตาเผาขยะแบบไร้ควันไร้มลพิษ ต้องมีพื้นที่กว้างและจัดหางบประมาณสูงซึ่งน่าเป็นห่วง

 

logo-matichon-classic
แหล่งข้อมูล : มติชนออนไลน์


Comments are closed.

Check Also

แกรนด์โอเพ็นนิ่ง “โคเอ็น” แบรนด์ดังร้านบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่นปิ้งย่าง-ชาบู-ซูชิ ผงาดเจาะตลาดอีสาน ประเดิมโคราชแห่งแรก!

ดีเดย์ แกรนด์โอเพ็นนิ่งสุดยิ่งใหญ่ KOUEN PREMIUM BUFFET … …