Yanai Tadashi (ทาดาชิ ยาไน) เป็นผู้ที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศญี่ปุ่นและ รวยเป็นอันดับ 41 ของโลก เขาเป็นเจ้าของบริษัทเสื้อผ้าชื่อ Uniqlo ร้านเสื้อผ้าชื่อดังที่มีสาขากว่า 1,300 แห่งทั่วโลก “เด็กไร้ฝัน” Yanai เป็นลูกชายคนเดียวในบ้าน พ่อเป็นเจ้าของร้านสูทเล็กๆ แห่งหนึ่งใน ฮิโรชิม่า Yanai เข้าเรียนที่ ม.วาเซดะ ม.เอกชนชื่อดังของญี่ปุ่น ช่วงนั้น นักศึกษาในกรุงโตเกียวต่างพากันรวมตัวประท้วงนโยบายของรัฐบาล มหาลัยส่วนใหญ่ จึงหยุดการเรียนการสอน Yanai ไม่สนใจการเมืองหรือการประท้วงอะไรนั่น เขาเอาเวลาทั้งหมดไปเล่นไพ่นกกระจอกกับปาจิงโกะเสียหมด เมื่อเรียนจบ เขาไม่ได้อยากเข้าทำงานที่ไหน จึงไม่ได้หางานจนพ่อเขาทนไม่ไหว ต้องฝากให้เข้าทำงานที่ Jusco แต่ Yanai ก็ทำอยู่เพียง 10 เดือน และลาออกกลับมาทำงานที่บ้าน Credit: wired.com “ไม่เหลือใคร” แม้อยู่ Jusco เพียง 10 เดือน แต่ Yanai ก็ได้เรียนรู้การจัดการคลังสินค้า การวางสินค้าอย่างเป็นระบบ เมื่อกลับมาช่วยงานพ่อ เขาจึงสั่งโน่นสั่งนี่กับลูกน้อง โดยพยายามจะเปลี่ยนให้พนักงานในร้านมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทว่า พนักงานต่างทนไม่ไหว ค่อยๆ ทยอยลาออกกันไปทีละคนสองคน จนสุดท้าย พนักงานลาออกไปทั้งหมด 7 คน เหลือพนักงานเก่าแก่อยู่แค่คนเดียว Yanai จึงต้องทำทุกอย่าง ตั้งแต่ทำความสะอาดร้าน ลงบัญชี สั่งของ ขายสินค้า ด้วยวัยเพียง 24-25 ปี Yanai กล่าวในภายหลังว่า… “ตอนนั้น เขาลำบากมาก ทำงานแทบไม่มีเวลาหยุด แต่ช่วงเวลานั้นก็เป็นประสบการณ์ที่ดี ทำให้เขาทำทุกอย่างทุกขั้นตอนเป็นเอง” นี่อาจเป็นสาเหตุที่ Uniqlo มักให้เด็กที่จบมหาลัยใหม่ๆ มาเป็นผู้ช่วยหรือเป็นผู้จัดการร้านและต้องทำทุกอย่างเป็นแม้แต่ถูพื้น ฝึกให้เรียนรู้ทุกอย่าง Credit: bloomberg.com “จาก Formal wear มาเป็น Casual wear” Yanai มีโอกาสได้เจอกับจิมมี่ ไร เจ้าของแบรนด์ Giordano ที่ฮ่องกง ประกอบกับระหว่างการเดินทางไปดูงานทีสหรัฐฯเขาได้เห็นความสำเร็จของแบรนด์เสื้อผ้า Casual เช่น GAP Esprit Benetton แกเห็นร้าน Coop ตามมหาลัยที่เนืองแน่นไปด้วยนัก ศึกษาที่มาหาซื้อเสื้อฮู้ท เสื้อยืด เพราะฉะนั้น เขาจึงตัดสินใจเปลี่ยนจากธุรกิจจำหน่ายสูทที่ต้องคอยดูแลลูกค้า คอยเอาใจใส่ทุกกระบวนการมาเป็นการจำหน่าย Casual wear ประเภทเสื้อยืด เสื้อกันหนาวถูกๆ ซึ่งลูกค้าตัดสินใจเอง เลือกซื้อเอง สินค้าประเภทนี้ขายง่ายและขยายธุรกิจได้เร็วกว่า และนั่นคือที่มาของ “Uniqlo” ซึ่งมาจากคำว่า “Unique Clothing” Credit: blogs.ubc.ca Yanai มาถูกทาง สินค้าราคาประหยัดทว่าคุณภาพดี อย่างเสื้อฟลีซ ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว Uniqlo กลายเป็นกระแสในญี่ปุ่น เขาจึงขยายกิจการไปเรื่อยๆ ไปทั่วประเทศ และมุ่งสู่กิจการระดับโลก [soliloquy id=”775″] “ชนะ 1 แพ้ 9” หลายคนอาจมองว่า Uniqlo เป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จมากในระยะเวลาไม่ถึง 20 ปี แต่ Yanai มองว่า เขาเองผิดพลาดมามากเช่นกัน “ในการทำธุรกิจ หากเริ่มอะไรใหม่ๆ สัก 10 อย่างก็คงจะล้มเหลวสัก 9 อย่างนั่นแหละ ความผิดพลาด ความล้มเหลว เป็นเรื่องปกติในการทำธุรกิจ” แต่ล้มเร็ว ก็ต้องลุกเร็ว…Uniqlo เคยลงทุนในเสื้อผ้ากีฬา แต่ก็ล้มเลิกไปในเวลาไม่ถึง 1 ปี Uniqlo ไปเปิดร้านที่อังกฤษ โดยเปิด 21 ร้านภายในระยะเวลาแค่ 2 ปี แต่สุดท้าย ก็ตัดสินใจปิดไป 16 ร้าน บริษัทยังเคยพยายามลองธุรกิจขนส่งผักด้วย แต่ยอดขายไม่ถึงเป้า จึงล้มเลิกไปภายใน 2 ปี Yanai ผิดพลาดมาหลายครั้งจริงๆ แต่เขาก็ยังก้าวเดินต่อ Credit: businessoffashion.com “ก่อนเริ่มทำธุรกิจใหม่ใดๆ ก็ตาม ผมจะมองเห็นเป้าหมาย เห็นปลายทางแล้วว่าธุรกิจนี้ น่าจะเป็นแบบไหน” ถ้าธุรกิจนั้นดูท่าจะไปไม่ถึงฝั่ง ไม่เป็นไปตามเป้า ก็รีบถอนตัวแต่เนิ่นๆ นั่นเป็นสาเหตุที Uniqlo ลองทำอะไรใหม่ๆ ตลอดเวลาและไม่เคยกลัวความล้มเหลว ขอเพียงความผิดพลาดนั้นไม่ถึงกับทำ ให้บริษัทต้องล้มละลาย เขาก็พร้อมที่จะผิดพลาดและเรียนรู้เสมอ ล้ม…แล้วก็ลุกขึ้นได้ Yanai เชื่อว่า ความล้มเหลวจะเป็นบทเรียนที่ดีให้กับเขา ขอเพียงอย่าผิดซ้ำ และถอนตัวให้ไว Uniqlo จึงมีตำราและคลังความรู้ว่า บริษัทต้องเปิดร้านในทำเลเช่นใด จัดวางของประเภทใดในทำเลไหน เรียนรู้ความต้องการของลูกค้าอย่างไร เวลาแตกแบรนด์ลูก จะต้องสร้างความแตกต่างกับแบรนด์แม่อย่างไร ทั้งหมด ได้มาจากความผิดพลาดในอดีตทั้งนั้น วิ่ง… ล้ม… ลุก… เรียนรู้ และก้าวเดินต่อไป บทเรียนจาก Yanai Tadashi ชายที่ (น่าจะ) ล้มเยอะทีสุด และรวยที่สุดในญี่ปุ่น แหล่งข้อมูล : หนังสือ 1 ชนะ 9 แพ้ เครดิต : Japan Gossip by Gade Marumura ภาพประกอบ : marketeer.co.th
บุญใหญ่ ครอบครัวสุวรรณชาติ บริจาคที่ดินให้ รพ.มหาราช ที่ดินเนื้อที่ 237.4 ตารางวา พื้นที่ติดกับตลาดสุรนารี
ปีนี้เตรียมตัวโยก neon space Yappah Fest #4 เทศกาลดนตรีใหญ่กลางเมืองโคราช วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ที่ Mayfair Market