กรณีป้าทุบรถบอกอะไรกับ “สังคม” ? จากกรณีป้าทุบรถที่ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในโลกสังคมออนไลน์ที่เกิดเหตุการณ์คุณป้าสองท่านได้ใช้ขวานและจอบเข้าไปทุบรถยนต์คันหนึ่งที่จอดกีดขวางประตูหน้าบ้านของคุณป้าทั้งสองท่าน คิดว่าการทุบรถของคุณป้าทั้งสองท่านบอกอะไรกับสังคม ?! เราลองมาดูคำให้การของทั้งฝ่ายเจ้าของรถและคำแถลงของคุณป้า คำให้การของเจ้าของรถ : “ตัวเองตั้งใจเดินทางจากมหาชัย มาซื้อของที่ตลาดนี้ โดยออกจากบ้านเวลา 11.00 น. เมื่อมาถึง วนหาที่จอดรถ แต่ไม่มีที่จอด จึงเลือกที่จะจอดบริเวณนั้นไปก่อน ซึ่งตัวเองคิดว่าเป็นบ้านที่ไม่มีคนอยู่ เนื่องจากลักษณะทางกายภาพหลายอย่าง และไม่ได้อ่านป้ายหมายศาลที่เจ้าของบ้านติดไว้ จึงจอดรถโดยดึงเบรกมือ ทำให้ไม่สามารถขยับรถได้ และใช้เวลาในการใช้จ่ายในตลาด ประมาณ 10 นาที ทราบดีว่าตัวเองผิด จอดรถในที่ห้ามจอด แต่ไม่ควรกระทำแบบนี้ ซึ่งจะเอาผิดให้ถึงที่สุด” Credit : Tanapon Dakawong ทางด้านผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลประเวศ ให้ข้อมูลว่า… “บริเวณจุดเกิดเหตุ ตามกฎหมายการจราจร ไม่อนุญาตให้จอดรถ ในช่วงเวลา 06.00 – 10.00 น. ผู้ก่อเหตุทุบรถ ถือว่ากระทำความผิด เบื้องต้นจะแจ้งความในข้อหา ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์และพกพาอาวุธในที่สาธารณะ หลังจากนี้ จะพาเจ้าของรถไปชี้ตัวผู้ก่อเหตุ และดำเนินคดีตามกฎหมาย” คำแถลงการณ์ของคุณป้าเจ้าของบ้าน : คุณป้าจะเดินทางออกไปทำธุระข้างนอกแต่ออกมาพบกับรถคนดังกล่าวจอดขวางอยู่ ทั้งกดแตรรถก็แล้ว ไปเปิดประตูรถก็ล็อค มีการล็อคเกียร์ ล็อคเบรกมือ หาคนมาช่วยเข็นแล้วก็เข็นไม่ไป โทรไปแจ้ง 191 และ 155 แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่มายังจุดเกิดเหตุ คุณป้าทั้งสองจึงใช้สิทธิ์อันชอบธรรมเพื่อเป็นการปกป้องสิทธิ ไม่ได้ทำเกินกว่าเหตุ Credit : Tanapon Dakawong ซึ่งเมื่อฟังคำแถลงการณ์ทั้งหมดของคุณป้าแล้วดูเหมือนว่าประเด็นการจอดรถขวางทางเข้า – ออกบ้านจะตกเป็นรองไป เมื่อทางคุณป้าเผยกับผู้สื่อข่าวเพิ่มเติมว่า คุณป้านั้นมีต้นตอการไม่พอใจมาจากที่ตลาดสามารถมาตั้งในหมู่บ้านที่พักอาศัยได้ ซึ่งการมีตลาดเป็นต้นเหตุของเสียงดัง ฝุ่นควัน น้ำเน่าเสีย พร้อมกับการโดนคุกคามต่างๆ ใส่ร้ายป้ายสี ค้าประเวณี ค้ายาเสพติด แต่ก็ไม่เคยได้รับความเป็นธรรมใดๆ ทั้งสิ้นพร้อมแสดงหลักฐานและพยานบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากรถที่มาจอดกีดขวางทางเข้า-ออกหน้าบ้านเพื่อมาใช้บริการที่ตลาดบ่อยครั้ง ซึ่งกินเวลาเรื้อรังมานานมากว่า 10 ปี จนนำไปสู่ความฉุนขาดและการทุบรถอย่างที่พวกเราได้เห็นกันในคลิป การกระทำของป้าจึงไม่เป็นเพียงแค่การบันดาลโทสะเท่านั้น แต่ยังเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่จุดประกายให้คนในสังคมได้หันมาให้ความสนใจและตระหนักว่า “ทุกวันนี้เราทำผิดจนเคยชินหรือเปล่า?” ตัวอย่างง่ายๆ จากกรณีนี้ เพียงแค่เราเห็นพื้นที่ว่างเป็นประตูบ้านหรือหน้าปากซอย ซึ่งตามมารยาททางสังคมแล้วถือเป็นพื้นที่ที่ควรจอดหรือไม่ทุกคนอาจจะทราบกันดีอยู่แล้ว แต่หลายคนก็ยังฝ่าฝืนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตนเองเป็นสำคัญ ไม่นับรวมปัญหาที่แท้จริงยังคงต้องสืบสาวไปถึงปัญหาการติดสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐและการเมืองในท้องถิ่นที่กลับมาเป็นที่จับตาของสังคมอีกครั้ง แม้ว่าผู้จอดรถขวางทางเข้า-ออกหน้าบ้านของคุณป้าจะผิดจริง แต่ในทางกฏหมายแล้วคุณป้าก็ไม่สามารถนำความทุกข์ที่คุณป้าได้รับมาตลอด 10 ปี มาแก้ต่างให้สามารถทำลายทรัพย์สินของบุคคลที่สามซึ่งไม่มีส่วนในเหตุการณ์ในอดีตได้โดยชอบ หรือสนับสนุนให้การกระทำของป้าเป็นสิ่งที่ถูกต้องเมื่อความเดือดร้อนไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นธรรมได้แต่อย่างใด เพราะสุดท้ายแล้วไม่ว่าสังคมจะตีความกรณีนี้เป็นอย่างไร แต่สิ่งที่ผิดก็ต้องว่าไปตามผิดถูกก็ต้องว่าไปตามถูกไปตามกระบวนการยุติธรรม สิ่งที่น่าติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไปคือทาง “ผู้ใช้กฏหมาย” จะจัดการเรื่องราวที่เป็นต้นตอของปัญหานี้อย่างไร… “ความถูกต้อง” หรือ “อำนาจเงิน” จะเป็นฝ่ายปราชัยก็ต้องรอดูกันต่อไป แหล่งข้อมูล : ไทยรัฐออนไลน์ ภาพประกอบ : ข่าวสด
บุญใหญ่ ครอบครัวสุวรรณชาติ บริจาคที่ดินให้ รพ.มหาราช ที่ดินเนื้อที่ 237.4 ตารางวา พื้นที่ติดกับตลาดสุรนารี
ปีนี้เตรียมตัวโยก neon space Yappah Fest #4 เทศกาลดนตรีใหญ่กลางเมืองโคราช วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ที่ Mayfair Market